ปี-39-ฉบับที่-3
เรื อนเครื่ องสั บ 16 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 - จั่วใบปรือ เข้าใจว่ามาจากเรือนเครื่องผูก ซึ่งจะมีใบตาลหรือใบจากกรุอยู่ข้างใน เมื่อน� ำมาใช้กับเรือนเครื่องสับจึงท� ำเป็นแกนติดทับตัวดั้งในแนวของใบดั้ง มีกรอบ แว่นโดยรอบ และท� ำเป็นเกล็ดไม้เล็ก ๆ ตีซ้อนกันขึ้นไปคล้ายฝาซ้อนเกล็ด เมื่อมุงกระเบื้องเสร็จก็มีหลบปูนเชิงกระเบื้องโดยรวม ที่หน้าจั่วมีรูระแนงเรียงกันลงมาเพื่อ เป็นการกั้นนกหนูเข้าไปในรูระแนง จึงปิดทับด้วย “ไม้ปั้นลม” โดยวางอยู่บนแปลาน ๖. ตัวอาคาร ตัวอาคารแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ได้แก่ - ส่วนเดี่ยวล่าง คือ ส่วนจากพื้นดินถึงหลังรอด - ส่วนเดี่ยวบน คือ ส่วนจากหลังรอดไปถึงท้องเต้าราย - ส่วนหลังคา คือ ส่วนจากหลังเต้ารายถึงสันหลังคา การท� ำสัดส่วนของอาคารเรือนไทยนั้นถือกันว่า ถ้าเป็นเครื่องสับของภาคกลางโดยท� ำเนียบ ช่างราชส� ำนักนั้น การท� ำสัดส่วนมีความส� ำคัญมาก คือ ส่วนเดี่ยวล่างกับเดี่ยวบนต้องได้สัดส่วนที่พอดีกัน ถ้าส่วนบนเตี้ยแต่เสาสูงมาก เรียกว่า “อาคารหอบพื้น” และถ้าช่วงล่างเสาเตี้ยข้างบนสูงเรียกว่า “อาคาร ข่มพื้น” ซึ่งถือว่าไม่เป็นมงคล ไม่เหมาะส� ำหรับอยู่อาศัย ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นอาคารเล็กหรือใหญ่ต้องสร้าง ให้ได้สัดส่วนที่สัมพันธ์กัน ๗. บริเวณนอกชาน ส่วนนอกชานจะมีเสาขึ้นมารับ เรียกว่า “เสาตอม่อ” หมายถึงเสาที่ขึ้นมาจากพื้นดินมารับ แค่รอดเป็นช่วง ๆ โดยรอบนอกชานจะตั้งเสาคร่อมรอดทะลุพื้นขึ้นมา เพื่อเอาฝานอกชานมาติด การวางพื้นนอกชานจะวางตามแนวยาวของตัวเรือน เช่นเดียวกับพื้นห้องนอนพื้นระเบียง และเป็นการวางขวางกับทางเดิน เนื่องจากไม้พื้นอยู่ไปนาน ๆ ตากแดดตากฝน เนื้อเยื่อของไม้จะสึกหรอ ลงไปเหลือแต่เสี้ยน ถ้าเราเดินขวางเสี้ยนก็จะไม่เป็นอันตราย ส่วนรอบ ๆ นอกจากจะมีรั้วนอกชานหรือฝานอกชานแล้ว ส่วนใหญ่จะตีเป็นไม้สายบัว มีร่องตีนช้างและกรอบรัดเกล้าเหมือนกับฝาเรือนใหญ่ แต่ส่วนของฝาจะเจาะเป็นช่วงเพื่อให้ระบายอากาศ ได้ เวลาอยู่บนนอกชานจะสามารถมองออกไปภายนอกได้ ๘. บันได ส่วนมากจะท� ำชานพักบันได โดยน� ำอิฐมาเรียงกัน เอาทรายอัดให้แน่นแล้วโบกปูน เนื่องจาก คนสมัยก่อนไม่นิยมสวมรองเท้าจึงท� ำเป็นที่ส� ำหรับล้างเท้าอยู่ทางด้านขวา จากนั้นเป็นแม่บันไดอยู่ ๒ ข้าง ลูกบันได บรรจุไว้ในแม่บันไดโดยจะมีตัวลูกบันได ๒ ตัวหัวท้ายเป็นตัวยึด ตรึงบันไดด้วยการเจาะเดือย ทะลุแผ่นแม่บันได แล้วใส่ลูกสลักกันหลุด ส่วนตัวลูกนอนบันไดที่เหลือก็เป็นตัวฝากไม่เจาะทะลุขั้นบันได จะมีประมาณ ๕-๗ ขั้น โดยใช้ลูกตั้งประมาณ ๑๘ เซนติเมตร
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=