ปี-39-ฉบับที่-3
สุภาษิ ตศรี สวั สดิ์ : ค� ำสอนกุลบุตรผู้ศึ กษาในส� ำนั กสงฆ์ 258 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 การสอนโดยให้รายละเอียดนี้เป็นวิธีการที่ใช้มากในเรื่องนี้ เป็นรายละเอียดที่ชัดเจน และเห็นได้ชัด ว่าเป็นข้อมูลจากประสบการณ์ ท� ำให้ค� ำสอนนี้น่าสนใจ และน่าจะเป็นปัจจัยส� ำคัญให้การสอนมีประสิทธิผล เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัว การเปรียบเทียบ ในการสอนให้เข้าใจจดจ� ำ มีการเปรียบเทียบให้เห็นจริงหลายแห่ง แต่ที่เด่นมาก คือ ตอนที่ชี้ให้เห็นว่าวิชาเป็นของมีค่าต้องพากเพียรจึงจะได้มา ดังนี้ วิชาเหมือนสินค้า อันมีค่าอยู่เมืองไกล ต้องยากล� ำบากไป จึงจะได้สินค้ามา จงตั้งเอากายเจ้า เป็นส� ำเภาอันโสภา ความเพียรเป็นโยธา แขนซ้ายขวาเป็นเสาใบ นิ้วเป็นสายระยาง สองเท้าต่างสมอไม้ ปากเป็นนายงานไป อัชฌาไศรยเป็นเสบียง สติเป็นหางเสือ ถือท้ายเรือไว้ให้เที่ยง ถือไว้อย่าให้เอียง ตัดแล่นเลี่ยงข้ามคงคา ปัญญาเป็นกล้องแก้ว ส่องดูแถวแนวหินผา เจ้าจงเอาหูตา เป็นล้าต้าฟังดูลม คี่เกียดคือปลาร้าย จะท� ำลายให้เรือจม เอาใจเป็นปืนคม ยิงระดมให้จมไป จึงจะไปได้สินค้า คือวิชาอันพิดไสมย จงหมั่นหมั้นหมายใจ อย่าได้คร้านการวิชา น่าสังเกตว่าความเปรียบนี้น่าสนใจ ทั้งแง่เนื้อหาที่น� ำมาเปรียบ และกลวิธีสร้างชุดความเปรียบ คือการเปรียบวิชาเป็นสินค้าอันมีค่า และผู้แสวงวิชาเปรียบเหมือนเรือส� ำเภา กลวิธีสร้างชุดความเปรียบ อาจจะชวนคิดเชื่อมโยงไปถึงความเปรียบเรื่องส� ำเภาทองในเวสสันดรชาดก แต่เมื่อพิจารณาเนื้อหาที่น� ำ มาเปรียบ น่าจะเป็นการสะท้อนให้เห็นเหตุการณ์เด่นของยุคสมัย ได้แก่ การค้าส� ำเภา ในรัชกาลพระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว การสาธก มีการสาธกยกนิทานธรรมมาประกอบหลายแห่ง บางแห่งน่าสนใจมาก คือการ อธิบายว่าเหตุใดต้องมีการลงโทษโดยยกนิทานเรื่องฤๅษีเลี้ยงลิงมาสาธก เนื้อหาเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเด็กมาก ที่สุด และน่าจะช่วยให้เด็กเข้าใจได้ดี โดยเฉพาะเมื่อหยิบยกมาใช้อธิบายประเด็นส� ำคัญดังกล่าว นิทาน เรื่องนี้กล่าวถึงฤๅษีเลี้ยงลิงทโมนก� ำพร้าตัวหนึ่ง ดังนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=