ปี-39-ฉบับที่-3

253 โชษิ ตา มณี ใส วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ การที่ตนกระท� ำอยู่มีความมุ่งหมายอย่างไร เมื่อท� ำไปแล้วจะบังเกิดผลอะไรบ้างดังนี้เป็นต้น ๘ การสอนแบบ นี้จะท� ำให้ทราบเหตุผลของค� ำสอน และทราบประโยชน์หรือโทษของการกระท� ำ ผู้รับค� ำสอนที่ใช้ปัญญา ไตร่ตรองจะเกิดความรู้ตระหนักว่า เหตุใดจึงควรประพฤติสิ่งนั้น ไม่ประพฤติสิ่งนี้ และจดจ� ำค� ำสอนได้ดี การสอนโดยชี้ให้เห็นจุดประสงค์ เช่น ท� ำไมต้องมีการตีลงโทษ มีการชี้แจงให้ทราบว่าในการ ปกครองต้องมีมาตรการควบคุมความประพฤติ เป็นการกระท� ำด้วยความปรารถนาดีมิใช่เพราะความชิงชัง ฉะนั้น จงอย่าโกรธแค้นอาจารย์ ดังที่ว่า แม้นไม่ข่มขี่หัดปรื ตามใจแล้วคื แกล้งชังจะให้เสียปราน ฯลฯ ด้วยหย่างมีมาแต่หลัง เจ้าอย่าชิงชัง พระครูว่าครูด่าตี ด้วยเจ้าท� ำผิดไม่ดี ครูท่านปรานี จึ่งตีเจ้าตามธรรมเนียม เจ้าอย่าท� ำจิตรเหี้ยมเตรียม รักษาจิตรเจียม สงบเสงี่ยมกีรียา การสอนโดยให้หรือห้ามประพฤติปฏิบัติโดยบอกผลที่จะเกิด เช่น  จงเข้ารับบาตรให้ส� ำรวม อย่าแสดงความโลภ หรือกิริยาไม่เหมาะสมกับสมณเพศ มิฉะนั้น ชาวบ้านจะต� ำหนิรังเกียจ และไม่ใส่บาตร ดังข้อความว่า ประเทียบเรียบร้อย อย่ามัวชม้อย ขะเม่นดูขัน ไม่ดีเณรโค่ง โตโต้งตามัน อย่าท� ำหูชัน และเกี้ยวสีกา ใส่บาตรหน้าแพ เขาแลอย่าแล ขะเม่นเล่นตา เขาจะว่าโลน จะโพนทะนา เขาสาบน�้ ำหน้า ภากันอดตาย ไม่ชั่วแต่ตัว เขาพลอยติขรัว ต้องรับอับอาย ถึงใครรู้จัก อย่าทักอย่าทาย เขาจะว่าธิบาย เห็นแก่กัปปี ๘ เรื่องเดิม, น. ๒๔๕.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=