ปี-39-ฉบับที่-3
สุภาษิ ตศรี สวั สดิ์ : ค� ำสอนกุลบุตรผู้ศึ กษาในส� ำนั กสงฆ์ 250 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 หรือประพฤติหน้าไหว้หลังหลอก ส่วนสิ่งของคือคัมภีร์ แสดงความเคารพโดยการเชิญอย่างระมัดระวัง เมื่อจะวาง ก็วางพาดในที่อันสมควร u มีความสุภาพอ่อนน้อม ถ่อมตน เช่น ค� ำสอนในตอนที่ว่าเมื่อเข้าไปในที่ที่คนประชุมกัน แน่นให้เอ่ยปากขอทางอย่างสุภาพ การไม่แสดงความกระด้างหยาบคายต่อผู้ใด ใช้ค� ำขานเรียกผู้คนอย่าง ไพเราะเหมาะสม ก็เป็นการแสดงความสุภาพอ่อนน้อมอย่างหนึ่ง u มีความกตัญญู คือ ค� ำสอนให้รู้คุณพ่อแม่ที่เลี้ยงดู รู้คุณอาจารย์ที่อุปการะดูแล สั่งสอนวิชา และอบรมจรรยามารยาท และตอบแทนคุณท่านด้วยการแสดงความเคารพ เอาใจใส่กิจธุระท่าน ปรนนิบัติ ดูแลท่านทั้งยามดียามไข้ u เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย คือ ค� ำสอนว่าไม่ให้ดื้อดึงกับครูอาจารย์ u ฟังธรรมตามกาล หาโอกาสแสวงหาความรู้เกี่ยวกับหลักความจริง ความดีงาม และเรื่อง ที่เป็นประโยชน์ หนังสือเรื่องนี้ได้แสดงหลักความจริง ความดีงาม และเรื่องที่เป็นประโยชน์ไว้ไม่น้อย เช่น นิทานเทียบเรื่องต่างๆ ที่ยกมาเป็นอุทาหรณ์ เรื่องการเจริญกรรมฐาน เรื่องพระนิพพาน กุลบุตรที่ได้อ่าน และจดจ� ำสิ่งที่กล่าวมาก็อาจนับว่าฟังธรรมตามกาล ดังได้ทราบแล้วว่า มงคล ๓๘ เป็นธรรมอันอุดมที่น� ำความสุขความเจริญมาสู่ชีวิต การที่ผู้แต่ง น� ำธรรมะข้อนี้มาเป็นหลักหรือแกนของค� ำสอนจึงนับว่าเหมาะสม เพราะนอกจากจะท� ำให้เนื้อหาค� ำสอน มีทิศทางที่ชัดเจนแล้ว คุณสมบัติของธรรมะข้อนี้ยังสามารถตอบโจทย์ของผู้แต่งได้อย่างครอบคลุม ทั้งแง่ จุดมุ่งหมายในการสอนและประเด็นต่างๆ ของเนื้อหาที่ต้องการสอน แม้ว่าจะไม่ถ้วนครบ ๓๘ ประการ กระนั้นก็ตาม การใช้มงคล ๓๘ เป็นหลักในการสอน ย่อมเป็นเครื่องประกันความน่าเชื่อถือได้ว่าการปฏิบัติ ตามค� ำสอนในสุภาษิตเรื่องนี้จะน� ำความสุขความเจริญมาสู่ชีวิตได้จริง กลวิธีการสอนที่ใช้ใน สุภาษิตศรีสวัสดิ์ หนังสือสุภาษิตเรื่องนี้ใช้กลวิธีการสอนเพื่อประสิทธิผล ได้แก่ ๑. สอนให้รู้สิ่งที่ถูกจากสิ่งที่ผิด เนื้อหาค� ำสอนใน สุภาษิตศรีสวัสดิ์ มีทั้งให้และห้ามประพฤติ ปฏิบัติเช่นเดียวกับหนังสือค� ำสอนอื่น ๆ แต่ลักษณะเด่นของการสอน คือ มักหยิบยกสิ่งที่ผิดที่ห้ามขึ้นกล่าว เพื่อชี้ให้เห็นว่าพฤติกรรมเช่นนั้นไม่ดี ไม่ควรเอาเยี่ยงอย่าง ให้ประพฤติตรงข้าม การน� ำข้อบกพร่องผิดพลาด ที่เคยมีผู้ประพฤติมาใช้เป็นบทเรียนดึงดูดความสนใจผู้ฟังได้ดีกว่าการหยิบยกแต่เฉพาะด้านบวกมากล่าว เช่น เมื่อจะสอนว่าการมาอยู่ในส� ำนักอาจารย์ต้องประพฤติตัวให้ดี ก็หยิบยกพฤติกรรมด้านตรงข้ามมา กล่าวก่อน ดังนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=