ปี-39-ฉบับที่-3

249 โชษิ ตา มณี ใส วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ u การงานไม่อากูล ธรรมะข้อนี้ท่านอธิบายว่า หมายถึง อาชีพการงาน ที่ท� ำด้วยความขยัน หมั่น เพียรเอาธุระ รู้จักกาล ไม่คั่งค้างย่อหย่อน ๕ ส� ำหรับกุลบุตรผู้ซึ่งอยู่ในวัยเล่าเรียนยังมิได้ประกอบอาชีพ การงานนี้น่าจะหมายถึง สิ่งที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติ ดังค� ำสอนที่มิให้เกียจคร้านในการเรียน รู้จักกาล เมื่อถึงเวลาเรียนก็ตั้งใจอ่านเขียนเพียรท่อง เอาธุระในกิจการทั้งหลาย จัดเตรียมสิ่งของที่จ� ำเป็นต้องใช้ใน ยามต่าง ๆ เช่น ยามอาจารย์ไปบิณฑบาต ไปเทศน์ ไปกิจนิมนต์ จัดเก็บส� ำรับไม่ทิ้งไว้ เก็บง� ำสิ่งของ ใส่ใจ ดูแลเรื่องที่อาจารย์มอบหมาย ไม่ให้กิจธุระของอาจารย์เสียหาย u รู้จักให้ เผื่อแผ่แบ่งปัน บริจาคสงเคราะห์และบ� ำเพ็ญประโยชน์ ดังในค� ำสอนที่ว่า อาหาร ที่เหลือแทนที่จะเททิ้งก็เก็บไว้ให้ทานสุนัขและกา ส่วนที่มากเกินความต้องการไม่ว่าจะเป็นเครื่องกินเครื่อง ใช้เครื่องไทยทานก็น� ำไปถวายภิกษุอาคันตุกะ ภิกษุอาพาธ หรือให้แก่เพื่อนสามเณร และเด็ก ๆ ในด้านการ บ� ำเพ็ญประโยชน์ หากเด็กอ่านหนังสือติดขัดก็ช่วยบอก เด็กเจ็บป่วยก็ช่วยดูแล เด็กในส� ำนักจะมีภัยก็ช่วย ป้องกันภัย u ประพฤติธรรม ด� ำรงอยู่ในศีลธรรม มีศีลสังวร ปฏิบัติตนถูกต้องดีงาม ไม่มีจิตริษยา ไม่ เกียจคร้าน ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น มีความสุจริตทั้งกาย วาจา และใจ ค� ำสอนข้อนี้ครอบคลุมค� ำสอนใน หนังสือสุภาษิตนี้แทบทั้งหมด เพราะสุภาษิตนี้สอนให้ประพฤติชอบ มีคุณธรรมจริยธรรมอันดี u เว้นจากความชั่ว คือ ไม่ประพฤติสิ่งที่เป็นบาปกรรม ดังเช่นในเรื่องกล่าวถึง บาป เบียดเบียนชีวิตสัตว์และท� ำร้ายผู้อื่น บาปล้างผลาญทรัพย์สิน ข่มเหง ไม่เคารพพ่อแม่ บาปท� ำร้าย ลบหลู่ หรือกล่าวร้ายใส่โทษผู้ที่ตนไม่ชอบใจไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นครูอาจารย์ ภิกษุ สามเณรก็ตาม บาปกินของสงฆ์ บาปท� ำลายพระศาสนาด้วยการพูดสอพลอน� ำเรื่องที่วัดไปพูดที่บ้านและน� ำเรื่องที่บ้านไปพูดที่วัดเพื่อชักน� ำ ให้ภิกษุสามเณรกับพี่สาวตนสนใจกัน จนภิกษุสามเณรต้องสึกจากสมณเพศ u เว้นจากการดื่มน�้ ำเมา ได้แก่ ตอนกล่าวถึงพฤติกรรมไม่ดี มีสูบฝิ่นกินเหล้า เป็นต้น เพราะ การดื่มสุรา เสพฝิ่น ท� ำให้มึนเมา ไม่เพียงจะท� ำให้เสียทรัพย์ เสียเวลาประกอบการงานแล้ว ที่ส� ำคัญคือ ท� ำให้ขาดสติ สามารถประพฤติชั่วได้ทุกชนิด u ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย เช่น ตอนที่สอนให้คิดถึงความอนิจจังของสังขาร อย่ายึดมั่น ถือมั่น อย่าถือรูปเป็นอารมณ์ อย่ารังเกียจร่างที่เสื่อมสลาย ทุกคนจะต้องมีสภาพเช่นนั้นในที่สุด ความตาย เป็นของที่ต้องประสบกันทุกคน u มีความเคารพ คือ การแสดงให้เห็นว่ารู้จักคุณค่าของบุคคล สิ่งของ ในที่นี้การเคารพบุคคล คือ ภิกษุสงฆ์ครูอาจารย์ และพ่อแม่ โดยรู้จักย� ำเกรง ให้ความส� ำคัญ ไม่แสดงกิริยาวาจาลบหลู่ดูหมิ่น ๕ เรื่องเดิม, น. ๓๒๒.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=