ปี-39-ฉบับที่-3

15 ภิ ญโญ สุวรรณคี รี วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ - กรอบเช็ดหน้า กรอบหน้าต่างประกอบด้วย ธรณีล่าง ธรณีบน บานหน้าต่าง และ หย่องหน้าต่าง เมื่อน� ำทั้ง ๔ ส่วนนี้มาประกอบรวมกันจะเรียกว่าเป็น “ฝา ๑ กระแบะ” ๕. หลังคา ๕.๑ องค์ประกอบของหลังคา หลังคาของเรือนเครื่องสับมี ๓ ส่วน คือ - หลังคาเรือน หรือหลังคาเอก หรือหลังคาจั่ว ซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากสันอกไก่ลงมา จนมาสิ้นสุดที่เชิงกลอนที่เต้ารับเชิงกลอน - หลังคาปีกนก เนื่องจากเชิงกลอนของหลังคาเอกต�่ ำลงมา ๓๕-๔๐ เซนติเมตร จากแปหัวเสาจึงต้องมีหลังคาสกัดหัวท้ายเรียกว่า “หลังคาปีกนก” - หลังคากันสาด คือ หลังคาส่วนที่ซ้อนอยู่ใต้หลังคาเอก มีลักษณะเป็นปีกชายคา ยื่นยาวรอบตัวเรือน ๕.๒ วัสดุมุงหลังคา กระเบื้องมุงหลังคาใช้กระเบื้อง ๔ ชนิด ได้แก่ - กระเบื้องหางเหยี่ยว - กระเบื้องหางมน - กระเบื้องหางตัด - กระเบื้องว่าวหรือขนมเปียกปูน กระเบื้องทั้ง ๔ ชนิด มีตัวจบเป็นกระเบื้องหางตัด โดยจะวางอยู่บนสะพานหนูเพื่อให้ดู เรียบร้อย การมุงกระเบื้องนั้นจะมีการมุงอยู่ ๒ วิธี ได้แก่ - ใช้กระเบื้องตัวผู้กับตัวเมีย - ใช้กระเบื้องตัวเมียอย่างเดียว ๕.๓ การตกแต่งหน้าจั่ว หน้าจั่วเป็นแผงไม้รูปสามเหลี่ยมใต้ปั้นลม เพื่อปิดช่องว่างสามเหลี่ยมของหลังคา ด้านสกัด หรือด้านขื่อของเรือน จั่วของเรือนไทยภาคกลางส่วนใหญ่ท� ำอยู่ ๕ แบบ ได้แก่ - ไม้ตีเรียบ - ตีซ้อนเกล็ด (ตามนอน) - ลูกฟักหน้าพรหม เรียกว่า “จั่วหน้าพรหม” หรือ “จั่วพรหมพักตร์” ท� ำเป็นลูกฟัก มีลูกตั้ง ลูกเซง เหมือนฝาปะกนแต่ขนาดโตกว่า - จั่วรัศมีอาทิตย์ ตรงรัศมีอาทิตย์เจาะเป็นช่อง มักใช้กับตัวเรือนครัวเพื่อการระบาย อากาศ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=