ปี-39-ฉบับที่-3

247 โชษิ ตา มณี ใส วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ u จงมีกิริยางามยามพูดจา ควรยิ้มละไม จะทักทายก็ให้เหมาะความ อย่าพูดมาก เกินพอดี u จงรู้กาลอันควร เมื่อถึงเวลาเรียนก็เรียน เร่งอ่านเขียนเพียรท่องบ่น อย่าให้อาจารย์ ต้องคอยดุคอยตีจ�้ ำจี้จ�้ ำไช เนื้อหาค� ำสอนเหล่านี้แม้จะครอบคลุมทั้งส� ำหรับกุลบุตรที่เป็นสามเณร และเด็กที่ ศึกษาในส� ำนักสงฆ์ แต่ดูจะให้น�้ ำหนักค� ำสอนแก่สามเณรอยู่มาก อาจจะเป็นเพราะสามเณรอยู่ในวัยรุ่น ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ และอยู่ในสมณเพศ ต้องได้รับการกวดขันคุณธรรมและจริยธรรมให้เข้มเพื่อประโยชน์ แก่ตัวสามเณรเอง และเพื่อภาพลักษณ์ที่ดีของผู้สืบทอดพระศาสนา จะได้เป็นที่ศรัทธาของชาวบ้าน ในวรรณกรรมส� ำคัญเช่นเรื่องพระมาลัย สามเณรก็เป็นเป้าหมายหนึ่งในการสอน โดยกล่าวถึงสามเณรที่ ปฏิบัติตนดี ปรนนิบัติดูแลอาจารย์ ไปเกิดในสวรรค์มีบริวารเจ็ดหมื่น และอาจเป็นไปได้ว่าหนังสือเรื่องนี้ แต่งขึ้นในสมัยที่มีการกวดขันจริยธรรมฝ่ายสงฆ์ การแต่งหนังสือให้ศิษย์สงฆ์น� ำไปใช้ปฏิบัติ จึงให้น�้ ำหนัก แก่ค� ำสอนสามเณร หลักธรรมใน สุภาษิตศรีสวัสดิ์ การแต่งหนังสือสุภาษิตเรื่องนี้ขึ้น เพื่อให้กุลบุตรที่ศึกษาอยู่ในส� ำนักสงฆ์ได้มีแนวทางในการ ประพฤติปฏิบัติตน เป็นการกระท� ำตามแนวคิด ธรรมสังเคราะห์ ๓ คือ สงเคราะห์ด้วยธรรม และเมื่อพิจารณา ค� ำสอนซึ่งผู้แต่งกล่าวควบคู่ไปกับข้อปฏิบัติต่างๆ แล้ว เข้าใจว่าธรรมะที่ใช้เป็นหลักของค� ำสอนใน สุภาษิต ศรีสวัสดิ์ คือ มงคล ๓๘ มงคล ๓๘ เป็นธรรมะอันน� ำมาซึ่งความสุขความเจริญ ธรรมะนี้เรียกเต็มว่าอุดมมงคล คือ มงคล อันสูงสุด มี ๓๘ ประการ ๔ เป็นธรรมะที่ชี้แนะแนวทางครอบคลุมกระบวนประพฤติของบุคคล ทั้งที่ เกี่ยวกับตนเองและผู้อื่น เมื่อบุคคลน� ำไปใช้จะเกิดความสุขความเจริญในชีวิต มงคล ๓๘ มีความส� ำคัญ ยิ่งยวดเพราะได้ประสานหลักธรรมค� ำสอนที่ส� ำคัญเป็นเครือข่ายอย่างมีเอกภาพ แสดงไว้กระทั่งถึง อุดมการณ์สูงสุดของพุทธศาสนาคือ นิพพาน กล่าวได้ว่า มงคล ๓๘ แสดงหลักค� ำสอนในพุทธศาสนา ๓ เป็นหนึ่งในสังคหะ ๒ ได้แก่ อามิสสังคหะ และธรรมสังคหะ ๔ มงคล ๓๘ ได้แก่ ไม่คบคนพาล คบบัณฑิต บูชาคนที่ควรบูชา อยู่ในถิ่นมีสิ่งแวดล้อมดี ได้ท� ำความดีไว้พร้อมก่อน ตั้งตนไว้ชอบ เล่าเรียน ศึกษามาก มีศิลปวิทยา มีระเบียบวินัย มีวาจาสุภาษิต บ� ำรุงบิดามารดา สงเคราะห์บุตร สงเคราะห์ภรรยา การงานไม่อากูล รู้จักให้ ประพฤติ ธรรม สงเคราะห์ญาติ ประกอบการงานไม่มีโทษ เว้นจากความชั่ว เว้นจากการดื่มน�้ ำเมา ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย มีความเคารพ สุภาพ อ่อนน้อม สันโดษ มีความกตัญญู ฟังธรรมตามกาล มีความอดทน เป็นผู้ว่าง่าย พบเห็นสมณะ สนทนาธรรมตามกาล มีความเพียรเผากิเลส ประพฤติพรหมจรรย์ เห็นอริยสัจ ท� ำพระนิพพานให้แจ้ง จิตไม่หวั่นไหว จิตไร้โศก จิตปราศจากธุลี จิตเกษม พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม, กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๒๘. น. ๓๒๐-๓๒๑.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=