ปี-39-ฉบับที่-3

สุภาษิ ตศรี สวั สดิ์ : ค� ำสอนกุลบุตรผู้ศึ กษาในส� ำนั กสงฆ์ 242 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 เมื่อกล่าวถึงพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์แล้วก็กล่าวถึงพฤติกรรมพึงประสงค์ต่อไป ได้แก่ u มีความเพียรในการศึกษาเล่าเรียน ไม่เกียจคร้าน ตามสุภาษิตว่า เมื่อน้อยให้เรียน วิชา ให้หาสินเมื่อใหญ่ วิชาความรู้เป็นของมีค่า ต้องล� ำบากพากเพียรให้เต็มที่เพื่อให้ได้มา ต้องมีความหมั่น ขวนขวายเป็นนิจ คนมีปัญญาดีแต่ขาดความเพียรก็ไม่ส� ำเร็จในการเรียน ดูแต่อาจารย์แม้มีความรู้มากอยู่ แล้วก็ยังหมั่นเพียรศึกษาอยู่เสมอ u ตระหนักรู้คุณค่าของวิชา ชายมีความรู้เป็นศรี นารีมีรูปเป็นทรัพย์ คนไร้วิชาเหมือน ดอกชบาที่ไร้กลิ่นหอม วิชาเป็นสิ่งที่จะช่วยให้เอาตัวรอด แต่เมื่อรู้สิ่งใดต้องรู้ให้จริง จึงจะเป็นประโยชน์พา ตนให้รุ่งเรืองได้ ดังเรื่องของนายเปลี้ยดีดกรวดเป็นลวดลายต่างๆ พระราชาเห็นความสามารถจึงชุบเลี้ยง u นบนอบอาจารย์ เมื่อจะฝากตัวเป็นศิษย์ก็ต้องไม่กระด้างกระเดื่องต่ออาจารย์ มิฉะนั้นจะมิได้วิชา ดังเช่นพระเจ้าจัณฑปัชโชติไม่อ่อนน้อมต่อพระเจ้าอุเทน พระเจ้าอุเทนก็ไม่สอนวิชาให้ u ตระหนักเห็นคุณค่าของการเข้าศึกษาในส� ำนักสงฆ์ เปรียบเทียบให้เห็นว่าการฝากตัว เป็นศิษย์ของสงฆ์ดีกว่าการฝากตัวเป็นศิษย์ของพวกมูลนายหลายประการ หนึ่งคือ ไม่ต้องเสียเงินทอง เพราะอาจารย์ไม่คิดเงินค่าเล่าเรียน ทั้งยังอุปการะเรื่องการกินอยู่พร้อม สองคือ ไม่มีบุตรภรรยาอาจารย์ มาใช้งานจู้จี้ เพราะสงฆ์ไม่มีบุตรภรรยา สามคือ ไม่ต้องถูกใช้งานเหมือนบ่าวข้า สี่คือ ไม่ต้องล� ำบากใจใน การด� ำเนินชีวิตประจ� ำวัน เพราะในวัดไม่มีปัญหาความเหลื่อมล�้ ำทางสังคม ไม่ต้องมีปัญหากับลูกทาสบ่าว ไพร่ ห้าคือ เป็นศิษย์ของสงฆ์ เมื่อตามอาจารย์ไปที่ใดก็ดูดี ถือย่ามแบกคัมภีร์มีคนชม การไปศึกษากับพวก มูลนายนั้นนอกจากจะได้รับความล� ำบากกายล� ำบากใจแล้ว หากศึกษาวิชาด้านโรงศาลโดยที่ตนเป็นคนไม่ ได้รับการอบรมด้านคุณธรรม ยังอาจน� ำวิชามาใช้เบียดเบียนผู้อื่น เป็นการสร้างบาปกรรม u อย่าดื้อดึงให้อาจารย์ตี อาจารย์จ� ำเป็นต้องลงโทษเพื่อควบคุมพฤติกรรมศิษย์ให้ เป็นไปในทางดี หากศิษย์ท� ำผิดต้องถูกลงโทษ u มีสติปัญญาพิจารณาตรึกตรองสิ่งต่างๆ ไม่ท� ำตนเป็นพวกกระต่ายตื่นตูม u อย่าเป็นคนหน้าไหว้หลังหลอก จงเคารพอาจารย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง อย่าท� ำเหมือน เรื่องเจ้าชกเจ้าไหว้ u จงแข่งขันกันท� ำความดีให้อาจารย์พอใจ รู้จักฝากตัว มีความเพียร รู้ใจอาจารย์ อาจารย์ รักศิษย์ผู้ใดก็ให้ดูผู้นั้นเป็นแบบอย่าง อย่าริษยาเพื่อน กลั่นแกล้งท� ำร้าย ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นจะถึงตัว ๒. หลักการประพฤติปฏิบัติตนของกุลบุตรในส� ำนัก เป็นเนื้อหาส่วนใหญ่ของเรื่อง กล่าวถึงข้อ ปฏิบัติต่างๆ โดยละเอียด ขณะเดียวกันก็แทรกข้อค� ำสอนเพื่อปลูกฝังอบรมด้านจริยธรรม และคุณธรรม ตามหลักพุทธศาสนา ดังนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=