ปี-39-ฉบับที่-3
สุภาษิ ตศรี สวั สดิ์ : ค� ำสอนกุลบุตรผู้ศึ กษาในส� ำนั กสงฆ์ 240 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 สุภาษิตศรีสวัสดิ์ แต่งขึ้นเมื่อใดไม่มีหลักฐานแน่ชัด แต่ฉบับสมุดไทยที่ใช้ศึกษาระบุว่าขุนสารา นิกร (โพล้ง) คัดลอกและสอบทานเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๑ แสดงว่าแต่งขึ้นก่อนหน้านี้ น่าจะเป็นในสมัยพระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งในรัชกาลนั้นพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความส� ำคัญเรื่องการศึกษาและจริยธรรม ของประชาชนเป็นอย่างยิ่ง ด้วยทรงมีความวิตกในพระราชหฤทัย ดังปรากฏในเพลงยาวพระราชปรารภ เมื่อคราวที่ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ (พ.ศ. ๒๓๗๗) ว่า ทุกวันนี้มีแต่พาลสันดานหยาบ ประพฤติบาปไปเสียสิ้นแผ่นดินกระฉ่อน จะหาปราชญ์เจียนจะขาดพระนคร จึงขอพรพุทธาไตรยาคุณ อันกุลบุตรจะสืบสายไปภายหน้า ให้ปรีชาแช่มชื่นทุกหมื่นขุน ให้ฝักใฝ่ในกุศลผลบุญ อย่ามัวมุ่นฝิ่นฝาสุราบาน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกวดขันเรื่องจริยธรรมแม้ฝ่ายสงฆ์ ใน พระราช- พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ของเจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี กล่าวว่า พ.ศ. ๒๓๘๕ มีการช� ำระ ความพระสงฆ์ทั้งบ้านเมืองที่ประพฤติมิควร จับสึกประมาณ ๕๐๐ รูป ที่หนีไปก็มาก พระราชาคณะปาราชิก ก็หลายรูป ข้อความพระราชปรารภและภาวะวิกฤตจริยธรรมในบ้านเมืองอาจจะเป็นแรงบันดาลใจให้นาย มีแต่ง สุภาษิตศรีสวัสดิ์ ขึ้น การที่หนังสือนี้กล่าวไว้หลายแห่งเรื่องผู้ท� ำผิดสิกขาถูกจับตัวไปลงโทษ น่าจะ เป็นภาพสะท้อนเหตุการณ์บ้านเมือง เป็นไปได้ว่า สุภาษิตศรีสวัสดิ์ อาจจะแต่งในเวลาใกล้เคียงกันนั้น จุดประสงค์ในการแต่งระบุว่าหนังสือสุภาษิตนี้ชื่อ ศรีสวัสดิ์ แต่งไว้เพื่อสอนกุลบุตร และถวาย เป็นธรรมบูชา กุลบุตรผู้ใดอ่านแล้วจดจ� ำน� ำไปใช้จะเกิดความสวัสดี แต่ทั้งนี้ต้องระลึกถึงคุณของผู้แต่งและ แผ่กุศลให้ผู้แต่งด้วย กล่าวได้ว่าเป้าหมายค� ำสอนคือผู้ที่ศึกษาเล่าเรียนในวัดโดยมีสงฆ์เป็นอาจารย์ ได้แก่ สามเณร และเด็ก (ดังที่ระบุถึง หัวโล้น หัวจุก หัวเปีย หัวแหยม) สุภาษิตศรีสวัสดิ์ จัดอยู่ในประเภทกลอนสวด คือ เป็นวรรณกรรมค� ำสอนที่แต่งด้วยกาพย์ ๑๑ กาพย์ ๑๖ กาพย์ ๒๘ (ในที่นี้แต่งเพื่อใช้ส� ำหรับอ่าน) ค� ำประพันธ์ซึ่งมีจ� ำนวน ๔๕๒ บทนั้น ตอนต้น ที่เป็นบทไหว้ครูใช้อินทรวิเชียรฉันท์ จ� ำนวน ๙ บท การระบุชนิดค� ำประพันธ์บางครั้งเขียนเฉพาะเลข ๑๑ (หมายถึง กาพย์ยานี) บางครั้งเขียนชื่อและเลข เช่น ฉบัง ๑๖ สุรางคนางค์ ๒๘ อย่างไรก็ดี การระบุชนิด ค� ำประพันธ์บางแห่งก็มีข้อน่าสนใจดังนี้ ๑. ระบุชื่อว่า กาพย์รัตนมาลา ๒๘ (บทที่ ๑๐-๓๘) แต่เมื่อตรวจสอบเทียบกับ ทศมูลเสือโค ๒ ของผู้แต่งคนเดียวกัน ปรากฏว่าตรงกับกาพย์สุวัณณมาลา ซึ่งมีลักษณะเหมือนกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ ๒ อีกชื่อหนึ่งคือ เสือโค ก กา ตามประวัติว่าแต่ง พ.ศ. ๒๓๘๑
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=