ปี-39-ฉบับที่-3
239 โชษิ ตา มณี ใส วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ การอบรมด้านจริยธรรมและคุณธรรมแบบที่ลงลึกไปถึงรายละเอียดในชีวิตประจ� ำวันมักกระท� ำ โดยมุขปาฐะ แต่ยังมีหนังสือเรื่องหนึ่งกล่าวถึงการอบรมความประพฤติของกุลบุตรที่ศึกษาอยู่ในส� ำนักสงฆ์ แง่หลักการปฏิบัติตนในชีวิตประจ� ำวัน ความประพฤติที่ดีงาม การเรียนรู้ธรรมะที่ใช้กล่อมเกลาจิตใจและ ท� ำให้เข้าถึงอุดมการณ์ของศาสนา เพื่อให้ผู้ที่ผ่านกระบวนการอบรมมีคุณสมบัติถึงพร้อม แม้จะไปด� ำเนิน ชีวิตในเพศฆราวาสก็เป็นที่พึงประสงค์ของสังคม หนังสือเรื่องนั้น คือ สุภาษิตศรีสวัสดิ์ ในอดีต สุภาษิตศรีสวัสดิ์ อาจเคยเป็นที่รู้จักกันในระดับหนึ่ง เพราะมีหนังสือแบบเรียนภาษา ไทยระดับประถมศึกษาสมัยหนึ่งคัดค� ำประพันธ์บางส่วนของหนังสือเรื่องนี้มาเป็นบทเรียน และใช้เป็นบท อาขยาน คือ บทที่ว่า “วิชาเหมือนสินค้า อันมีค่าอยู่เมืองไกล” แต่เนื่องจากสมัยต่อมาหนังสือเรื่องนี้ไม่มี ผู้กล่าวถึงในวงวิชาการและในท� ำเนียบประวัติวรรณคดี ในที่นี้จึงจะขอน� ำมากล่าวให้เห็นลักษณะ เนื้อหา คุณค่าความส� ำคัญ เพื่อให้หนังสือเรื่องนี้เป็นที่รู้จักดียิ่งขึ้น ข้อมูลตัวบท สุภาษิตศรีสวัสดิ์ เรื่อง สุภาษิตศรีสวัสดิ์ เป็นผลงานของ นายมี ดังกล่าวไว้ในตัวบทว่า “เราผู้แต่งแจ้งนามนายมี รูปพรรณพอดี เหมือนหนึ่งมะพร้าวจาวทอง” ในแวดวงกวีรัตนโกสินทร์ เป็นที่รู้จักกันดีว่า นายมี ๑ หรือ หมื่นพรหมสมพัตสร เป็นกวีที่มี ฝีปากทางกลอนเกือบเท่าสุนทรภู่ เป็นเจ้าของผลงานวรรณกรรมประเภทกลอนหลายเรื่อง และเป็นกวีที่ หยิบยกเรื่องราวชาววัดมาแต่ง เช่น นิราศเดือน ซึ่งเป็นเรื่องภิกษุหนุ่มร� ำพันรักจากในวัด นายมีมองโลกใน วัดด้วยสายตาของคนที่คุ้นเคยคลุกคลี (น่าจะเป็นวัดพระเชตุพนฯ เพราะตามประวัติและผลงานเรื่องต่าง ๆ นายมีบวชและเกี่ยวข้องกับสถานที่บริเวณนี้อยู่มาก) สามารถถ่ายทอดเรื่องราวออกมาได้อย่างชัดเจนเห็น จริง มีชีวิตชีวา เรื่อง สุภาษิตศรีสวัสดิ์ นี้ก็มีลักษณะดังกล่าว และเมื่อพิจารณาจากส� ำนวนและลีลาการแต่ง ท� ำให้เชื่อได้ว่า นายมี ที่ระบุไว้ในตัวบทเป็นคนเดียวกับที่แต่ง นิราศเดือน แต่น่าสังเกตว่านักวิชาการส� ำคัญ ในอดีตที่กล่าวถึงประวัติและผลงานของนายมีไว้อย่างละเอียด เช่น ธนิต อยู่โพธิ์ และฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ มิได้กล่าวถึงเรื่อง สุภาษิตศรีสวัสดิ์ นี้เลย ๑ กวีผู้นี้มีอายุอยู่ในระหว่าง พ.ศ. ๒๓๓๘ ถึงก่อนสิ้นรัชกาลที่ ๓ (พ.ศ. ๒๓๙๔ ) นายมีเป็นบุตรพระโหราธิบดี (สมุ) เป็นผู้แต่ง พระสุบิน ก กา ทศมูลเสือโค (เสือโค ก กา) นิราศเดือน นิราศพระแท่นดงรัง นิราศฉลาง นิราศสุพรรณ เพลงยาวสรรเสริญพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว นายมียังเป็นผู้มีฝีมือในทางจิตรกรรม วาดรูปเมืองลงกาต่างจากขนบ จนได้รับสมญาว่า นายมีลงกาใหม่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=