ปี-39-ฉบับที่-3
เรื อนเครื่ องสั บ 14 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 - ฝาปะกน ประกอบด้วยลูกตั้งกับลูกเซงและฝา ความกว้างไม่เกิน ๙ นิ้ว หนาประมาณ ๑.๕ นิ้ว ส่วนตัวลูกฟักจะบางลงไป อาจใช้ไม้ ๖ หุน - ฝาปะกนลูกฟักบัวหลังเจียด ส� ำหรับอาคารที่เจ้าของมีฐานันดรสูงขึ้นมาหรือมีฐานะ ดีขึ้น ฝาปะกนท� ำลูกฟักใหญ่ขึ้น แล้วใช้เป็นบัวหลังเจียด ภายหลังเรียก “ลูกฟัก กระดานดุน” - ฝาส� ำหรวด ตัวฝาตีเป็นตารางภายในกรุด้วยใบตาล ใบลาน - ฝาไหล มีช่องเปิดปิดสามารถเลื่อนได้ คล้ายกับหน้าต่างเป็นซี่ ๆ เวลาเลื่อนบาน หน้าต่างให้แผ่นไม้กระดานตรงกันก็จะเห็นเป็นช่อง ๔.๒ ประเภทของฝาผนัง สามารถแบ่งประเภทตามการใช้สอยและต� ำแหน่งที่ใช้ได้อีก ๙ ประเภท ได้แก่ - ฝาหุ้มกลอง อยู่ด้านสกัดหัว-ท้ายอาคาร - ฝาประจ� ำห้อง อยู่ภายในด้านยาว มีช่องประตูส� ำหรับเดินเข้าห้อง - ฝาขนาน อยู่ทางด้านข้างที่มีช่องหน้าต่างของตัวเรือน - ฝาประจัน ฝาระหว่างห้อง ถ้าเป็นเรือนใหญ่มีการกั้นห้อง บริเวณที่กั้นจะมีเสา ดั้งลงมาเพื่อรับฝาประจัน - ฝาเสี้ยว อยู่ด้านสกัด แต่จะอยู่ช่วงที่เป็นระเบียงต่อจากฝาหุ้มกลองออกมา - ฝานอกชาน อยู่บริเวณนอกชาน มีช่องให้ลมผ่านได้และมองเห็นทัศนวิสัยโดยรอบได้ - ฝาเชี่ยน เป็นฝาเล็ก ๆ อยู่ต่อจากฝาประจ� ำห้อง ส� ำหรับห้องโถงจะมีฝาเชี่ยนออกมา ด้านหนึ่ง แต่เดิมคนนิยมกินหมาก ช่างก็จะประมาณพื้นที่ไว้ ๕๐ เซนติเมตร ส� ำหรับวางเชี่ยนหมากไม่ให้หล่น - ฝาแม่ม่าย ฝาที่มีกรอบเช็ดหน้าโดยรอบ แต่ไม่มีประตู - ฝาขัดแตะ ใช้เป็นฝาของส่วนครัวที่ไม่มีช่องหน้าต่าง แต่จะใช้ฝาขัดแตะนี้โดยรอบ เพื่อช่วยในการระบายอากาศ ๔.๓ องค์ประกอบของฝาผนัง มี ๔ ส่วน ซึ่งประกอบส� ำเร็จรูปจากข้างล่าง แล้วจึงน� ำขึ้นไปติดตั้ง คือ - ร่องตีนช้าง เป็นเชิงฝาคล้าย ๆ กับกรอบฝาที่อยู่ตอนล่าง - กรอบรัดเกล้า เป็นส่วนของฝาคล้าย ๆ กับกรอบฝาที่อยู่ตอนบน - เนื้อฝา เป็นส่วนที่เป็นพื้นที่ฝา ซึ่งอาจเป็นฝาปะกน ฝาสายบัว ฯลฯ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=