ปี-39-ฉบับที่-3
ปันหยี มิ สาหรั ง : บทละครเรื่ องอิ เหนาอี กส� ำนวนหนึ่ งของไทย 232 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 พระกรทรงกระบี่ผาดผัน ต่อต้านราญรอนด้วยทีท่า ร� ำร่ายหันเหียนเวียนระวัน ต่างคนต่างหาญชาญศักดา หมายมั่นเข่นฆ่าราวี เลี้ยวไล่ไปมาพัลวัน ตอนปันหยียาหยังกุสุมารบกับระตูจรกา ในค� ำบรรยายการรบระหว่างปันหยียาหยังกุสุมา กับระตูจรกาในเรื่องปันหยีมิสาหรัง (บทละครเรื่องปันหยีมิสาหรังและรุ่งฟ้าดอยสิงห์ : ๘๗) มีกลอน บางวรรคที่บรรยายเหตุการณ์ตอนปันหยียาหยังกุสุมาสังหารระตูจรกาคล้ายและตรงกับที่มีในพระราช นิพนธ์บทละครในเรื่อง อิเหนา ตอนอิเหนาสังหารท้าวกะหมังกุหนิง (เรื่องอิเหนาพระราชนิพนธ์รัชกาล ที่ ๒ : ๓๓๖ และ ๓๓๘) ดังนี้ พระราชนิพนธ์บทละครในเรื่องอิเหนา บทละครเรื่องปันหยีมิสาหรัง เห็นระตูถอยเท้าก้าวผิด เห็นระตูถอยท้าวก้าวผิด พระกรายกริชแทงอกตลอดหลัง พระทรงกริชแทงระตูอาสัญ ล้มลงด่าวดิ้นสิ้นก� ำลัง ล้มลงด่าวดิ้นสิ้นชีวัน มอดม้วยชีวันปลดปลง พลขันธ์แตกพ่ายกระจายไป ภาพลักษณ์ของอินูกะระปาตีและจันตะหรากิรหนาในเรื่องปันหยีมิสาหรัง ในเรื่อง ปันหยีมิสาหรัง แสดงภาพลักษณ์ของอินูกะระปาตีและจันตะหรากิรหนาต่างไปจาก ที่พบในพระราชนิพนธ์บทละครในเรื่องอิเหนา ดังนี้ ภาพลักษณ์ของอินูกะระปาตี ภาพลักษณ์ของอินูกะระปาตีในเรื่อง ปันหยีมิสาหรัง เป็นดังนี้ ๑. เชื่อฟังผู้ใหญ่โดยเฉพาะพระชนกชนนีและญาติผู้ใหญ่ เช่น เมื่อท้าวกุรีปันจะสู่ขอ จันตะหรากิรหนาให้เป็นคู่ตุนาหงันของอินู ทรงถามอินู อินูก็ไม่ขัดข้อง ดังค� ำกราบทูลว่า “แล้วแต่อายะ ยันดาจทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ” (บทละครเรื่องปันหยีมิสาหรังและรุ่งฟ้าดอยสิงห์ : ๑๔) นอกจากนี้ เมื่ออินูเดินทางไปดาหาเพื่อเข้าพิธีอภิเษกกับจันตะหรากิรหนา พบว่าจันตะหรากิรหนาหนีไปแล้ว ลิกู จึงแนะน� ำให้อินูอภิเษกกับอาหยังแทน ท้าวดาหาก็ทรงเห็นชอบด้วย อินูก็ยอมท� ำตามทั้ง ๆ ที่ไม่ได้รัก อาหยังเลย ดังปรากฏในค� ำพูดของอินูที่ตอบท้าวดาหาว่า “แล้วแต่มะมันดาจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า” (เรื่องเดิม : ๖๙) ภาพลักษณ์นี้ขัดกับอิเหนาในพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่ดื้อดึง มักไม่เชื่อฟังค� ำผู้ใหญ่ เช่น พระชนกสู่ขอบุษบาให้เป็นคู่ตุนาหงันก็ไม่พอใจ ถอนหมั้นนาง เมื่อพบ นางบุษบาในภายหลังกลับหลงรักและปรารถนาจะได้นางคืน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=