ปี-39-ฉบับที่-3
13 ภิ ญโญ สุวรรณคี รี วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ องค์ประกอบของเรือนเครื่องสับ เรือนเครื่องสับประกอบด้วยส่วนหลัก ๆ ๓ ส่วน ได้แก่ “เดี่ยวล่าง” “เดี่ยวบน” และ “ส่วนของ หลังคา” ส่วนองค์ประกอบของเรือนมีดังนี้ ๑. ฐานราก ฐานรากของเรือนเครื่องสับมีการสร้างได้ ๒ วิธี คือ - ใช้เป็น “งัว” คือ มีไม้ ๓ หรือ ๔ ท่อนวางเรียงซ้อนกันและตั้งเสาไว้ด้านบน - ใช้เป็น “แระ” คือ ตัดแผ่นไม้เป็นสี่เหลี่ยมบ้าง กลมบ้าง รองลงไปในก้นหลุม ฐานรากจะรับน�้ ำหนักของเสา เสาจะอยู่บนแระ ส่วนที่เป็นฐานรากเป็นงัว จะต้องมีไม้กง พัดวางลงไป จะสังเกตเห็นว่าการสร้างเรือนนั้นส่วนของนอกชานกับตัวเรือนแยกกัน เนื่องจากต้อง รับน�้ ำหนักผนังและส่วนหลังคา รวมทั้งกระเบื้อง จึงต้องรับน�้ ำหนักมากกว่าส่วนชาน ๒. เสา เสาแต่เดิมใช้ไม้เนื้อแข็ง เช่น เต็ง รัง เนื่องจากมีแก่นอยู่ตรงกลางท� ำให้เป็นประโยชน์ในการท� ำ “หัวเทียน” ด้วยการกลึงปลายเสาไม้ให้เหลือเป็นแก่นกลม ๆ ส� ำหรับสวมกับขื่อ ซึ่งเป็นไม้หน้าตัดสี่เหลี่ยม ผืนผ้า กว้าง ๖-๘ นิ้ว หนา ๒ นิ้ว ช่วงตอนกลางเสาจะถูกเจาะทะลุ และยึดระหว่างเสาให้อยู่ด้วยส่วนที่ เรียกว่า “รอด” ซึ่งเป็นไม้ขนาด ๒ × ๘ นิ้ว โดยรอดจะวางตามขวางของตัวเรือนและเป็นตัวรองรับพื้น ๓. พื้น พื้นแต่เดิมใช้ไม้หน้ากว้าง (๑๒-๑๖ นิ้ว) หนาประมาณ ๑ นิ้ว ความยาวพาดระหว่าง รอดถึงรอดเนื่องจากพื้นไม้มีน�้ ำหนักของตัวเอง บางทีอาจเกิดการแอ่นหรือตกท้องช้าง จึงท� ำตัว “รา” ไว้กลางพื้นระหว่างเสาถึงเสา แนวเดียวกับรอด แต่ราจะยึดติดกับ “พรึง” และพรึงจะวางอยู่บนรอด พรึงท� ำหน้ าที่หลักคือรัดรอบเสาไม้ ไม่ ให้ เสาเคลื่อนตัวและรับน�้ ำหนักของฝาผนังทั้งหมดด้ วย แต่ถ้าเป็นอาคารขนาดใหญ่ก็จะใช้ “ตง” ช่วย ปรกติจะวางห่างกันเป็นระยะ ๕๐ เซนติเมตร และมีตัว “พุก” กับ “คาน” รองรับอีกทีหนึ่ง เพื่อให้หลังตงเท่ากับหลังรอด จะได้ปูพื้นได้สนิท เนื่องจากว่า ส่วนปลายสุดของไม้มีรอดรับหัวไม้ทั้งหัว-ท้ายของอาคาร จึงมีไม้พื้นอยู่ ๓ จุด ที่ไม่มีตัวรับ คือ ริมฝาผนัง ทั้ง ๒ ด้าน และตัวกลางที่ไปชนกับ “เสาดั้ง” บริเวณข้างล่างจะท� ำเป็น “ฝักมะขาม” ซึ่งก็คือ พุกที่โค้ง รอบเสา เพื่อจะรับน�้ ำหนักหัวกระดานและมีที่นั่งของหัวไม้กระดานภายใน ๔. ฝาผนัง ๔.๑ รูปแบบของฝาผนัง มีอยู่หลายรูปแบบ เช่น - ฝากระดานเรียบ ฝาตีตามนอนเรียงกันขึ้นไป - ฝาสายบัว ฝาตีตามตั้งแล้วตีทับด้วยไม้ทับแนวอีกทีหนึ่ง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=