ปี-39-ฉบับที่-3
ปันหยี มิ สาหรั ง : บทละครเรื่ องอิ เหนาอี กส� ำนวนหนึ่ งของไทย 228 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 ตัดรายละเอียดตอนท้ายเรื่อง คือตัดเรื่องตั้งจันตะหรากิรหนาเป็นประไหมสุหรี ตั้งนิลวาตี เป็นมหาเดหวี ก้าหลุนาหวัง และบุษบาชูวิทเป็นลิกูของอินู ตัดเรื่องระเด่นวิรันตะกะซึ่งเป็นโอรสของ เมืองจกรกาได้นางบุษบาส้าหรีเป็นมเหสีและได้ครองเมืองจกรกา ตัดเรื่องลิกูดาหาส่งมนตรีผู้เป็นน้องชาย ไปขอชานหมากอาคมจากพระอาจารย์แต่มนตรีถูกฟ้าผ่าตาย ลิกูทราบข่าวร้ายและผิดหวังที่ระตูดาหา ไม่สนใจนางก็ป่วยจนร่างกายซูบผอมและตายไป ต่อมาระตูกุรีปันและประไหมสุหรีเสด็จไปทรงผนวช ที่กุหนุงวิลิส ระตูกากะหลังก็มอบราชสมบัติแก่ระเด่นสิงหมนตรี นับแต่นั้นเมืองกุรีปันและกากะหลัง ก็มีความมั่งคั่งและชาวเมืองอยู่กันอย่างมีความสุข (อิเหนา ฉบับแปลจากหิกะยัต ปันหยี สะมิหรัง : ๑๓๗-๑๔๔) การเพิ่มรายละเอียดบางประการเข้าไปในเรื่องปันหยีมิสาหรัง ในบทละครเรื่อง ปันหยีมิสาหรัง ผู้ทรงพระนิพนธ์ทรงเพิ่มรายละเอียดบางประการเข้าไปใน เรื่อง เช่น การเพิ่มนกขมิ้นบินเข้าในฉากและเพิ่มระบ� ำนก ตอนจันตะหรากิรหนาและอาหยังเที่ยว ชมสวน ทรงเพิ่มให้นกขมิ้นบินเข้ามาในฉากและมีระบ� ำนกด้วย ดังค� ำบรรยายว่า “มีนกขมิ้นบินจากในโรง จนหมดตัว” (บทละครเรื่องปันหยีมิสาหรังและรุ่งฟ้าดอยสิงห์ : ๘) และ “ปี่พาทย์ท� ำเพลงให้นกจับระบ� ำ แล้วนกแยกย้ายอยู่ในที่ต่าง ๆ” (เรื่องเดิม, หน้าเดิม) ทั้งนี้คงเพื่อให้มีสีสันและมีชีวิตชีวามากขึ้นนั่นเอง การเพิ่มค� ำศัพท์ชวา ผู้ทรงพระนิพนธ์บทละครเรื่องนี้ได้เพิ่มค� ำศัพท์ชวาหลายค� ำ สันนิษฐานว่า คงเพื่อให้มีสีสันของชวามากขึ้น เช่น การเพิ่มชื่อเป็นดอกไม้ ตอนจันตะหรากิรหนาและอาหยังเที่ยวเก็บดอกไม้ในสวน ในเรื่องอิเหนา ฉบับแปลจากหิกะยัตปันหยี สะมิหรัง กล่าวว่าเป็น “บุหงาที่มีกลิ่นหอม ๆ และรูปงาม ๆ” (อิเหนา ฉบับแปลจาก หิกะยัตปันหยีสะมิหรัง : ๒๓) ในบทละครเรื่องนี้ ผู้ทรงพระนิพนธ์ทรงเพิ่มชื่อดอกไม้เข้าไปคือดอก กะระบุหนิงซึ่งก็คือดอกแก้ว และดอกบุหงาตันหยงซึ่งก็คือดอกพิกุล ดังปรากฏในกลอนว่า “เพลิดเพลิน ด� ำเนินเก็บผกา กะระบุหนิงบุหงาตันหยง” (บทละครเรื่องปันหยีมิสาหรังและรุ่งฟ้าดอยสิงห์ : ๙) ตอนอาหยังไล่จับนกขมิ้น ในบทละครเรียกนกขมิ้นว่า “บุหรงกะปุดัง” (เรื่องเดิม : ๙) ทั้ง ๆ ที่ในฉบับแปลจากภาษามลายู ผู้แปลทรงเรียกว่านกขมิ้น (อิเหนา ฉบับแปลจากหิกะยัต ปันหยี สะมิหรัง : ๒๔) แต่ทรงอธิบายไว้ในเชิงอรรถว่าในต้นฉบับภาษามลายูเรียกว่า “บูรุง กะปุดัง” (เรื่องเดิม, หน้าเดิม) การเพิ่มรายละเอียดเรื่องอายุของอินู ตอนระตูกุรีปันจะสู่ขอจันตะหรากิรหนาให้เป็นคู่ ตุนาหงันของอินู ในเรื่อง อิเหนา ฉบับแปลจากหิกะยัต ปันหยี สะมิหรัง มิได้ระบุอายุของอินูในขณะนั้น ไว้ (อิเหนา ฉบับแปลจาก หิกะยัต ปันหยี สะมิหรัง : ๒๓) แต่ในบทละครเรื่อง ปันหยีมิสาหรัง ท้าวกุรีปันมี
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=