ปี-39-ฉบับที่-3
225 ชลดา เรื องรั กษ์ลิ ขิ ต วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ ของบีกูคันธาส่าหรีจาก “อุบุน อุบุน อินหนัง” (อิเหนา ฉบับแปลจาก หิกะยัต ปันหยี สะมิหรัง : ๑๖) เป็น “อุบุนแอ หนัง” (บทละครเรื่องปันหยีมิสาหรังและรุ่งฟ้าดอยสิงห์ : ๘๒) ที่เปลี่ยนชื่อต� ำแหน่งตัวละคร คือ เปลี่ยนจาก “ปาติ๊ห์” (อิเหนา ฉบับแปลจาก หิกะยัต ปันหยี สะมิหรัง : ๖๒) เป็น “ปาตี” และ “ปูปาตี” (เรื่องเดิม : ๔๗) เปลี่ยนชื่อจาก”เกน บาหยัน” (อิเหนา ฉบับแปลจากหิกะยัต ปันหยี สะมิหรัง : ๒๓) เป็น “บาหยัน” (บทละครเรื่องปันหยีมิสาหรังและรุ่งฟ้าดอยสิงห์ : ๙-๑๐) ทั้งยังเปลี่ยนชื่อ “เกน ส้าหงิด” (อิเหนา ฉบับแปลจาก หิกะยัต ปันหยี สะมิหรัง : ๒๓) เป็น “ส่าหงิด” (บทละครเรื่องปันหยีมิสาหรังและ รุ่งฟ้าดอยสิงห์ : ๑๓) ด้วย ทั้งนี้คงเพราะทรงคิดว่าคนไทยคุ้นกับชื่อ “บาหยัน” และ “ส่าหงิด” มากกว่า และเป็นชื่อที่ตรงหรือใกล้เคียงกับชื่อที่มีอยู่ในพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา นอกจากนี้ ยังตัดชื่อตัวละครบางตัวให้สั้นลง คงเพื่อมิให้ผู้อ่านสับสนกับจันตะหรากิรหนา คือ เปลี่ยนจาก “ก้าหลุนาหวังจันตะหรา” (อิเหนา ฉบับแปลจากหิกะยัต ปันหยี สะมิหรัง : ๑๐๑) เป็น “ก้าหลุนาหวัง” (บทละครเรื่องปันหยีมิสาหรังและรุ่งฟ้าดอยสิงห์ : ๘๐) การดัดแปลงชื่ออื่น ๆ ผู้เขียนพบว่าในเรื่อง อิเหนา ฉบับแปลจากหิกะยัต ปันหยี สะมิหรัง ใช้ค� ำเรียกสวนว่า “ตาหมัน” (อิเหนา ฉบับแปลจากหิกะยัต ปันหยี สะมิหรัง : ๒๓) แต่ในบทละครเรื่องนี้ใช้ ว่า “สตาหมัน” (บทละครเรื่องปันหยีมิสาหรังและรุ่งฟ้าดอยสิงห์ : ๑ และ ๑๓) ซึ่งแท้จริงแล้วแปลว่าสวน แห่งหนึ่ง ทั้งนี้คงเป็นเพราะค� ำ “สตาหมัน” มีในพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาของพระบาทสมเด็จพระพุทธ เลิศหล้า นภาลัยและคนทั่วไปเข้าใจความหมายของค� ำนี้ว่าสวน แม้ว่าเป็นการใช้ค� ำผิดไปจากข้อเท็จจริง ในภาษาชวาก็ตาม อนึ่ง ในเรื่อง อิเหนา ฉบับแปลจากหิกะยัต ปันหยี สะมิหรัง เรียกชื่อสวนในดาหาว่า “บันยารัน ส้าหรี” (อิเหนา ฉบับแปลจากหิกะยัต ปันหยี สะมิหรัง : ๒๓) ในเรื่องปันหยีมิสาหรังเรียกเพี้ยน ไปเป็น “ส� ำบันยา” หรือ “ส� ำบันยัง” (บทละครเรื่องปันหยีมิสาหรังและรุ่งฟ้าดอยสิงห์ : ๗ และ ๘) การดัดแปลงค� ำกริยา ผู้เขียนพบว่าในเรื่อง ปันหยีมิสาหรัง ผู้ทรงพระนิพนธ์ทรงใช้กริยาบางค� ำ ตามที่มีปรากฏในพระราชนิพนธ์บทละครในเรื่อง อิเหนา ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ไม่ได้ใช้ตามที่ปรากฏในเรื่อง อิเหนา ฉบับแปลจากหิกะยัต ปันหยี สะมิหรัง เช่น เปลี่ยนค� ำ “มะงุมบาหรา” ในเรื่อง อิเหนา ฉบับแปลจากหิกะยัต ปันหยี สะมิหรัง (อิเหนา ฉบับแปลจากหิกะยัต ปันหยี สะมิหรัง : ๕๓) เป็น “มะงุมมะงาหรา” (บทละครเรื่องปันหยีมิสาหรังและรุ่งฟ้าดอยสิงห์ : ๘๕) การดัดแปลงค� ำนาม ตอนปันหยีมิสาหรังปฏิเสธไม่ยอมเสวยอาหารร่วมกับอินูด้วยเกรงว่า จะเกิดเสนียดหรือความอัปมงคลขึ้น ในส� ำนวนแปลใช้ค� ำ “ตุหลา ตุอะห์” ซึ่งตรงกับค� ำไทยว่าเสนียดจัญไร (อิเหนา ฉบับแปลจากหิกะยัต ปันหยี สะมิหรัง : ๘๑) ในบทละครใช้ค� ำ “ตุลาปา” (บทละครเรื่องปันหยี มิสา หรังและรุ่งฟ้าดอยสิงห์ : ๕๙) ซึ่งใกล้กับค� ำว่า “ตุหลาปาปา” ในพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา ของ รัชกาลที่ ๒
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=