ปี-39-ฉบับที่-3

ปันหยี มิ สาหรั ง : บทละครเรื่ องอิ เหนาอี กส� ำนวนหนึ่ งของไทย 224 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 ก� ำบูวะระคะยอมรับว่าเป็นปันหยีมิสาหรัง แต่ก� ำบูยืนกรานปฏิเสธ ปันหยียาหยังกุสุมาจึงตามแอบดู ครั้นเห็นก� ำบูวะระคะอุ้มตุ๊กตาทองและร� ำพันถึงชีวิตที่เป็นทุกข์อยู่ในห้องนอน ปันหยียาหยังกุสุมาก็ทราบ ว่าก� ำบูคือจันตะหรานั่นเอง จึงแสดงตนและได้นางเป็นชายา หลังจากนั้นปันหยียาหยังกุสุมาลาท้าวกาหลัง กลับไปเยี่ยมบิดามารดาโดยขอพาพวกก� ำบูวะระคะไปด้วย เมื่อถึงกุรีปัน ได้เข้าเฝ้าโดยคืนสถานภาพเป็น อินูและก้าหลุจันตะหรา ท้าวกุรีปันส่งสารเชิญท้าวดาหาและกาหลังให้เสด็จมาร่วมพิธีอภิเษกระหว่างอินู กับจันตะหรา ท� ำให้ทุกคนทราบความจริงเรื่องการปลอมตัวของอินูและจันตะหรา ท้าวดาหาให้อาหยัง เข้าพิธีอภิเษกกับระเด่นสิงหมนตรี (ศิริกัน) พร้อมกับอินูและจันตะหราด้วยเพราะหมั้นกันไว้ตั้งแต่ยังเยาว์ หลังพิธีอภิเษก ท้าวกุรีปันทรงประกาศแต่งตั้งให้อินูเป็นกษัตริย์ครองเมืองกุรีปันต่อไป การดัดแปลงและเปลี่ยนแปลงรายละเอียดบางประการในเรื่องปันหยีสะมิหรัง การดัดแปลงรายละเอียดบางประการ มีการดัดแปลงเรื่องต่าง ๆ ต่อไปนี้ การดัดแปลงชื่อเรื่อง ผู้ทรงพระนิพนธ์ไม่ได้อธิบายที่มาของชื่อเรื่อง แต่เมื่อผู้เขียนอ่าน อิเหนา ฉบับแปลจากหิกะยัต ปันหยี สะมิหรัง พระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุม พันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต พบว่าพระองค์ทรงอธิบายว่าค� ำ “สะมิหรัง” มาจากค� ำในภาษาชวาว่า “semirang” แปลว่าแปลงหรือปลอมตัว ทั้งยังทรงอธิบายว่ามีค� ำอื่นที่มีความหมายอย่างเดียวกันคือค� ำ “มิสาหรัง” (อิเหนา ฉบับแปลจากหิกะยัต ปันหยี สะมิหรัง, ๒๕๕๒ : ค� ำน� ำของผู้แปล หน้า ๒) น่าเป็น เพราะค� ำอธิบายนี้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงเฉลิมเขตรมงคล จึงทรงตั้งชื่อบทละครพระนิพนธ์ ของพระองค์ว่า “ปันหยีมิสาหรัง” เพื่อทรงจ� ำแนกเรื่อง ปันหยีสะมิหรังและเรื่องปันหยีมิสาหรังออกจาก กัน แสดงให้เห็นความฉลาดในการตั้งชื่อเรื่อง การดัดแปลงชื่อเมือง ผู้ทรงพระนิพนธ์ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองไปจากเรื่อง อิเหนา ฉบับแปลจาก หิกะยัต ปันหยี สะมิหรัง เล็กน้อย ทั้งนี้เพื่อให้ใกล้เคียงกับชื่อเมืองในพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา ของพระบาท สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยซึ่งแพร่หลายเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปในหมู่คนไทย คือทรงเปลี่ยนชื่อ “กุรีปั่น” และ “กากะหลัง” เป็น “กุรีปัน” และ “กาหลัง” ตามล� ำดับ การดัดแปลงชื่อตัวละคร และชื่อต� ำแหน่งของตัวละคร ในเรื่อง ปันหยีมิสาหรัง ผู้ทรงพระนิพนธ์ ทรงเรียกชื่อตัวละครต่างไปจากที่พบในเรื่อง อิเหนา ฉบับแปลจากหิกะยัต ปันหยี สะมิหรัง เช่น ฉบับเดิม ใช้ว่า “ปันหยียาเหย็งกะสุมา” (อิเหนา ฉบับแปลจาก หิกะยัต ปันหยี สะมิหรัง : ๙๘) “บีกูคันฑะส้าหรี” (เรื่องเดิม : ๑๕) และ “จกรกา” (เรื่องเดิม : ๑๐๔) แต่ในบทละครเรื่องนี้ใช้ว่า “ระเด่นอินูกะระปาตี” (บทละครเรื่องปันหยีมิสาหรังและรุ่งฟ้าดอยสิงห์ : ๑๔) “ปันหยียาหยังกุสุมา”(เรื่องเดิม : ๘๐) “บีกูคันธะส่าหรี” หรือ “บีกูคันธาส่าหรี” (เรื่องเดิม : ๘๒-๘๓) และ “จรกา” (เรื่องเดิม : ๘๖) ทั้งยังเปลี่ยนชื่อบริวารคนสนิท

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=