ปี-39-ฉบับที่-3
เรื อนเครื่ องสั บ 12 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 ลักษณะและรูปแบบของเรือนไทยภาคกลาง เรือนไทยภาคกลางมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอันเป็นผลมาจากปัจจัยต่าง ๆ ตั้งแต่สภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ วัสดุในท้องถิ่น วิธีการก่อสร้าง ผสมผสานกับวัฒนธรรมของชุมชนที่ตอบสนองความเป็นอยู่ เรียบง่ายจนท� ำให้เกิดรูปแบบเฉพาะ ได้แก่ ๑. เรือนไม้ชั้นเดียวที่ยกพื้นใต้ถุนสูง ตัวเรือนมีชั้นเดียว ยกพื้นสูงจากระดับดินในระยะที่พ้นศีรษะประมาณ ๒.๐๐-๒.๕๐ เมตร รวมทั้งยกระดับระเบียงและนอกชาน โดยมีจุดประสงค์ดังนี้ - เพื่อความปลอดภัยและป้องกันภัยจากสัตว์ร้ายและขโมยในเวลาค�่ ำคืน - เพื่อป้องกันน�้ ำท่วม - เพื่อใช้ประโยชน์จากที่ว่างที่เกิดจากการยกใต้ถุนสูง เช่น ใช้เป็นที่ประกอบกิจกรรม หรือ หัตถกรรมในครัวเรือน เป็นที่เก็บสิ่งของและเครื่องมือเครื่องใช้ในการท� ำกสิกรรม หรือเป็นที่เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น - เพื่อการระบายอากาศ ๒. หลังคาทรงสูงและชายคายื่นยาว ทรงหลังคาเป็นสามเหลี่ยมที่เรียกว่า “ทรงมะนิลา” หรือ “จั่วทรงสูง” โครงสร้างเป็นไม้ มักมุงด้วยกระเบื้องดินเผา หลังคาทรงสูงช่วยระบายน�้ ำฝนที่ตกลงมาได้อย่างรวดเร็ว และช่วยลดปริมาณ ความร้อนที่ถ่ายเทจากหลังคาสู่ที่พักอาศัย ชายคายื่นยาวช่วยป้องกันแดดฝน ท� ำให้ช่วยยืดอายุการใช้งาน ของวัสดุที่เป็นไม้ได้นานขึ้น ๓. ชานเรือน ท� ำหน้าที่เชื่อมตัวเรือนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ใช้เป็นพื้นที่อเนกประสงค์ เป็นที่ประกอบกิจกรรม ต่าง ๆ รวมทั้งเป็นที่พักผ่อนจัดงานประเพณีต่าง ๆ นอกจากนี้ยังเชื่อมสภาพแวดล้อมธรรมชาติภายนอก เข้าสู่เรือน เช่น การเจาะกลางชานเพื่อให้ต้นไม้สามารถผ่านขึ้นมาให้ร่มเงาแก่ส่วนนอกชานได้ ๔. การล้มเสาของเรือน เสาเรือนสอบเข้าด้านบน ท� ำให้เกิดความมั่นคงแข็งแรง และช่วยเรื่องการทรงตัวท� ำให้สามารถ ต้านทานแรงลมและกระแสน�้ ำหลากได้ดี ๕. เรือนไม้ส� ำเร็จรูป มีลักษณะกึ่งส� ำเร็จรูป ท� ำเป็นชิ้นส่วนส� ำเร็จ ท� ำให้สะดวกในการประกอบหรือขนย้ายรื้อถอน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=