ปี-39-ฉบับที่-3

ปันหยี มิ สาหรั ง : บทละครเรื่ องอิ เหนาอี กส� ำนวนหนึ่ งของไทย 216 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 นิพนธ์บทละครในของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเพื่อให้มีความดีเด่นทั้งวรรณศิลป์ นาฏศิลป์และคีตศิลป์ จนได้รับยกย่องว่าเป็นบทละครในยอดเยี่ยมที่เหมาะทั้งแก่การอ่านและการแสดง ละครใน พระราชนิพนธ์บทละครในส� ำนวนนี้มีอิทธิพลต่อการสร้างเรื่อง อิเหนา ส� ำนวนอื่น ๆ ของไทย ในสมัยหลังต่อมาจนถึงสมัยปัจจุบัน เช่น อิเหนาค� ำฉันท์ จินตะหราค� ำฉันท์ นิราศอิเหนา บทสักวาเรื่อง อิเหนา บทละครดึกด� ำบรรพ์เรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์บทเจรจาละครเรื่องอิเหนา ของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ พระราชนิพนธ์บทละครในเรื่อง อิเหนา ของพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัยยังมีอิทธิพลต่อเรื่อง อินอง ของเมียนมาร์ อิณาว หรือ เอณาว ของพระราชอาณาจักร กัมพูชา และ อินเหนา ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวด้วย ในบทความนี้ ผู้เขียนขอน� ำเสนอเรื่อง อิเหนา ของไทยอีกส� ำนวนหนึ่งซึ่งมีเนื้อหาต่างจากเรื่อง ดาหลัง และ อิเหนา ของไทย เรื่องดังกล่าว ได้แก่ ปันหยีมิสาหรัง ภูมิหลังของเรื่องปันหยีมิสาหรัง ผู้แต่งและสมัยที่แต่ง ผู้แต่งเรื่อง ปันหยีมิสาหรัง ได้แก่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง เฉลิมเขตรมงคล ผู้เป็นพระชายาในพลโท สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรี ราเมศวร์ซึ่งเป็นพระโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธา สินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๔-๒๔๘๘ ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สถานบันเทิงต่าง ๆ ของไทยหยุดชะงักลงเพราะปัญหาเศรษฐกิจ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงเฉลิมเขตรมงคลซึ่ง โปรดทอดพระเนตรการแสดงนาฏยศิลป์จึงได้ทรงตั้งคณะนาฏศิลป์ขึ้นชื่อ “คณะชูนาฏดุริยางค์ศิลป์” เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕ ณ วังมังคละสถานหรือวังมงคลเวศน์ ซึ่งเป็นวังที่ประทับของพระองค์บนถนนสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างงานศิลปะและศิลปินด้านนาฏยศิลป์ไทย และจัดแสดงทุกวันเสาร์และอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา ๒๔.๐๐ น.-๐๔.๐๐ ของเช้าวันใหม่ (สุดารัตน์ กัลยา, ๒๕๔๐ : ๑) ในระยะแรก ทรงจัดให้มีการ แสดงเพื่อความบันเทิงพระทัยโดยให้เด็กในวังมาหัดร� ำและมีครูฝึกซ้อมรวมทั้งมีศิลปินหลายคนร่วมแสดงที่ สนามหลังพระต� ำหนัก (พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรณมงคลการ, ๒๕๐๐ : ค� ำน� ำ ข) ต่อมาจัดแสดง เชิงธุรกิจโดยเก็บค่าชมราคา ๘ บาทและ ๒๐ บาท (สุดารัตน์ กัลยา, เรื่องเดิม : ๑) คณะชูนาฏดุริยางค์ศิลป์ นี้แสดงตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๕-๒๕๐๐ รวมเวลา ๑๕ ปีหลังจากที่พลโท สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์สิ้นพระชนม์ (เรื่องเดิม : ๑ และ ๑๖) มีทั้งการแสดงโขน ละครดึกด� ำบรรพ์ ละครพันทาง ละครพูด ละครเสภา ละครพูดสลับร� ำ ร� ำเบ็ดเตล็ด และการแสดงเบ็ดเตล็ด (เรื่องเดิม : ๑-๒, ๑๔ และ ๒๙) พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงเฉลิมเขตรมงคลทรงพระนิพนธ์เรื่อง

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=