ปี-39-ฉบับที่-3

215 ชลดา เรื องรั กษ์ลิ ขิ ต วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ ความน� ำ เรื่อง อิเหนา เป็นวรรณคดีส� ำคัญเรื่องหนึ่งของไทยซึ่งมีต้นเค้าดั้งเดิมเป็นนิทานปันหยีของชวา นิทานปันหยีเป็นนิทานวีรบุรุษที่น� ำเนื้อหาบางส่วนมาจากพงศาวดารชวา โดยเฉพาะอย่างยิ่งวีรกรรมของ พระเจ้าไอรลังคะและพระเจ้ากาเมศวรผู้เป็นพระนัดดาในการขยายอาณาจักรชวาโบราณ การแบ่งแยก ชวาออกเป็น ๒ ส่วนของพระเจ้าไอรลังคะและการรวมอาณาจักรที่แบ่งแยกไว้ให้รวมเป็นหนึ่งเดียวของ พระเจ้ากาเมศวร* แห่งอาณาจักรชวาตะวันออกประมาณศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ (ธานีรัตน์ จัตุทะศรี, ๒๕๕๒ : ๒๗-๒๘) ในช่วงเวลาประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ หรือ ๒๐-๒๑ ในสมัยที่อาณาจักรมัชปาหิตรุ่งเรือง และมีวัฒนธรรมแบบฮินดู (ก่อนศาสนาอิสลามจะเผยแผ่เข้ามาในอาณาจักร) มีการแต่งนิทานปันหยี เป็นวรรณคดีลายลักษณ์หลังจากถ่ายทอดแบบมุขปาฐะตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๗-๒๐ (เรื่องเดิม : ๓๓ และ ๓๕) ทั้งยังเผยแพร่ไปยังบาหลีเมื่อมัชปาหิตมีอ� ำนาจเหนือบาหลี (เรื่องเดิม : ๓๕) นิทานปันหยีพัฒนา เป็นหลายส� ำนวนและเผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น รูปแบบวรรณกรรม การแสดง ภาพปูนปั้น ภาพสลัก และภาพวาด (เรื่องเดิม : ๓๖-๔๒) ต่อมานิทานปันหยีเผยแพร่เข้าสู่มลายูผ่านการแสดงส� ำคัญในพิธีอภิเษก ระหว่างเจ้านายเชื้อพระวงศ์ของชวากับมลายู หรือผ่านการศึกษาของดาหลังของมลายูซึ่งเป็นผู้พากย์หนัง เมื่อไปศึกษาการแสดงที่ชวา (เรื่องเดิม : ๔๔-๔๖) หลังจากนั้นนิทานปันหยีก็แพร่หลายเข้ามาในหลาย ประเทศของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น อินโดนีเซีย บาหลี มะละกา และไทย หากกล่าวเฉพาะของไทย นิทานปันหยีแพร่หลายเข้ามาช่วงปลายสมัยอยุธยาสมัยสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ผู้น� ำเข้ามาเผยแพร่คือหญิงมลายูที่ราชส� ำนักอยุธยาได้มาจากปัตตานี หญิงผู้นี้ เล่านิทานปันหยีถวายเจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แล้ว พระธิดาทั้งสองทรงพระนิพนธ์เป็นบทละครในพระองค์ละ ๑ เรื่อง ได้แก่ เรื่อง ดาหลัง และ อิเหนา โดยล� ำดับ มีข้อสังเกตว่านิทานปันหยีที่เข้ามาในอยุธยาเวลานั้นน่าจะเป็น ๒ ส� ำนวน จึงมีรายละเอียดแตกต่างกัน บทละครในทั้ง ๒ เรื่องนี้เป็นที่มาของพระราชนิพนธ์บทละครในเรื่อง ดาหลัง และ อิเหนา ของพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เนื่องจากเรื่อง อิเหนา ได้รับความนิยมมากกว่า เป็นเหตุให้เรื่อง ดาหลัง ไม่ใคร่เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากนักแม้ว่าพระราชนิพนธ์เรื่อง ดาหลัง ในพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจะยังคงมีฉบับสมบูรณ์อยู่ในวงการภาษาและวรรณคดีไทยก็ตาม สมัยรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชนิพนธ์บทละครในเรื่อง อิเหนา ขึ้นใหม่ มีเนื้อหาตั้งแต่ตั้งเมืองของกษัตริย์วงศ์เทวา ๔ เมืองจนถึงอิเหนาสึกชีโดยทรงปรับปรุงจากพระราช- * ในปลายสมัยของพระเจ้าไอรลังคะ พระองค์ทรงแบ่งชวาออกเป็น ๒ ส่วน คือ กุเรปันและดาหา แล้วพระราชทานให้โอรส ๒ พระองค์ปกครอง องค์ละเมือง ต่อมาพระนัดดา คืออินู (แปลว่ารัชทายาท เมื่อครองราชย์ทรงพระนามว่าพระเจ้ากาเมศวร) โอรสของเจ้าเมืองกุเรปันอภิเษกกับ ธิดาของเจ้าเมืองดาหา จึงท� ำให้อาณาจักรชวาที่เคยแบ่งแยกออกจากกันรวมเข้าเป็นอาณาจักรเดียวอีกครั้งหนึ่ง

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=