ปี-39-ฉบับที่-3

211 คุณหญิ งกุลทรั พย์ เกษแม่นกิ จ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ กล่าวถึงเสียงนกกรวิก เสียงนกอันชื่อว่านกกรวีกนั้นไส้ แลมีเสียงอันไพเราะมาถูกเนื้อพึงใจแก่ฝูงสัตว์ทั้งหลายยิ่งนักหนา แม้นว่าเสือจะเอาเนื้อไปกินก็ดี ครั้นว่าได้ยินเสียงนกกรวีกนั้นร้องก็ลืมเสีย แลมิอาจจะเอาเนื้อไปกินได้เลย แล แม้นว่าเด็กอันท่านไล่ตีแลแล่นหนี ครั้นว่าได้ยินเสียงนกนั้นร้องก็มิรู้สึกที่จักแล่นหนีได้เลย แลว่านกทั้ง หลายอันที่บินไปในอากาศ ครั้นว่าได้ยินเสียงแห่งนกกรวีก ก็บ่มิรู้สึกที่จะบินไป ปลาในน�้ ำก็ดี ครั้นว่าได้ยิน เสียงนกนั้นร้องก็มิรู้สึกที่ว่าจะหว้ายไปได้เลย เพราะว่าเสียงนกกรวีกนั้น เพราะนักหนาแล เป็นฉงนอยู่แล กล่าวถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ แต่ชั้นฟ้าอันชื่อว่าจาตุมหาราชิกาขึ้นไปไกลได้ ๓๓๖,๐๐๐,๐๐๐ วา จิงจะเถิงชั้นฟ้าอันชื่อว่า ดาวดึงษา นั้น ดาวดึงษานั้นตั้งอยู่เหนือจอมเขา พระสิเนรุราช บรรพต อันปรากฏเป็นเมืองพระอินทร์ผู้เป็น พระญาแก่เทพยดาทั้งหลาย ในยอดเขาพระสิเนรุราชนั้น เป็นเมืองของพระอินทร์โดยกว้างคัลนาไว้ได้ ๘,๐๐๐,๐๐๐ วา มีปรางค์ปราสาทแก้วเฉพาะซึ่งจอมเขา พระสิเนรุราชบรรพต แลมีที่เหล้นที่หัวสนุกนิ์ นักหนาโสด แต่ประตูเมืองหลวงฝ่ายตะวันออกเมืองแห่งสมเด็จอัมรินทราธิราช ไปเถิงประตูเมืองฝ่ายตะวัน ตกโดยไกลได้ ๘,๐๐๐,๐๐๐ วาแล แต่ประตูฝ่ายข้างทักษิณทิศไปเถิงประตูฝ่ายข้างอุดรทิศ เมืองพระอินทร์ เจ้านั้นโดยไกลได้ ๘,๐๐๐,๐๐๐ วา มีก� ำแพงแก้วล้อมรอบ มีประตูรอบนั้นได้พันหนึ่ง แลมียอดปราสาท อันมุงเหนือประตูนั้นทุกประตู เทียรย่อมทอง แลประดับนิ์ด้วยแก้วทั้ง ๗ ประการ แต่ตีนประตูขึ้นไป เถิงยอดปราสาทนั้นสูงได้ ๒๕๐,๐๐๐ วา แลเมื่อหับเผยประตูนั้น ได้ยินเสียงสรรพไพเราะถูกเนื้อพึงใจ นักหนา ดุจเสียงแห่งดุริยดนตรีทั้งหลายอันไพเราะนัก แลเทพยดาทั้งหลายอยู่ใน นครดาวดึงส์ นั้น ย่อม ได้ยินเสียงช้างแก้ว แลราชรถแก้วอันมี่อันดังไพเราะถูกเนื้อพึงใจนักหนา ที่ในท่ามกลางนครไตรตรึงษ์นั้น มี ไพชยนตปราสารท โดยสูงได้ ๒๕,๖๐๐,๐๐๐ วา ปราสาทนั้นงามนักงามหนา เทียรย่อมแก้วสัตตพิธรัตนะ ทั้งหลาย โดยสูงได้ ๒,๔๐๐,๐๐๐ วา เทียรย่อม สัตตพิธรัตนะ รุ่งเรืองงามพ้นประมาณ ถวายแก่พระอินทร์ ผู้เป็นเจ้าไพชยนต์ปราสาทนั้นแล (ไตรภูมิกถา หน้า ๓๐๐-๓๐๒) อิทธิพลของไตรภูมิกถามมีมาก นอกจากน� ำเรื่องไปอ้างถึงในบรรดาวรรณคดีต่าง ๆ แล้ว ยังน� ำ ภาพที่เกิดจากจินตนาการไปวาดเป็นภาพจิตรกรรม วรรณคดีเรื่องนี้สอนเรื่องบุญบาปทางศาสนาของคน ในสมัยโบราณที่ยังมีอิทธิพลมาจนกระทั่งทุกวันนี้ เรื่อง ไตรภูมิกถา นี้ เมื่อคณะท� ำงานแห่งชาติของประเทศไทยแปลและเรียบเรียง รวมทั้งถอด ความแล้ว ได้จัดพิมพ์เผยแพร่ จ� ำนวนเรื่องละ ๕,๐๐๐ เล่ม เป็นวรรณกรรมอาเซียน ฉบับ Ia แล้วจัด ส่งไปให้ประเทศสมาชิก ประเทศละ ๕๐๐ เล่ม โดยได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากคณะกรรมการฝ่าย วัฒนธรรมของอาเซียน เป็นค่าด� ำเนินการแปล ค่าจัดพิมพ์ และค่าจัดส่ง ใช้เวลาด� ำเนินการรวม ๑๒ ปี ตั้งแต่

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=