ปี-39-ฉบับที่-3
11 ภิ ญโญ สุวรรณคี รี วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ ๓. เรือนร้านค้าริมทาง ลักษณะคล้ายกับเรือนร้านค้าริมน�้ ำ แต่จะตั้งอยู่ริมทางสัญจรทางบก โดยมีส่วนหนึ่งเป็นที่พัก และส่วนด้านหน้าท� ำเป็นระเบียงใช้เป็นบริเวณขายสินค้า ๔. เรือนแพ พบมากบริเวณชุมชนริมน�้ ำภาคกลางในอดีต สามารถโยกย้ายไปมาได้ง่าย ส่วนใหญ่ท� ำเป็น ส่วนค้าขายอยู่ร่วมกับที่พักอาศัย เรือนหันหน้าออกสู่ล� ำน�้ ำ ท� ำเป็นร้านค้าหรือส่วนรับแขก ส่วนกลางเป็น ส่วนนอน ส่วนหลังหันสู่ฝั่งจะเป็นครัวและที่รับประทานอาหาร ตัวเรือนลอยอยู่บนผิวน�้ ำโดยมีแพรอง รับ แบ่งเป็น ๒ ชนิด คือ แพไม้ไผ่ที่เรียกว่า “แพลูกบวบ” และแพที่เรียกว่า “โป๊ะ” คือ ใช้โครงไม้อย่าง ลักษณะท้องเรือ ๕. กุฏิ กุฏิ หมายถึง ที่อยู่เฉพาะรูป คือ เป็นที่อยู่ของพระสงฆ์ โดยมีความมุ่งหมายให้อยู่ได้เพียง รูปเดียว ห้ามสะสมสิ่งของที่เกินความจ� ำเป็นในการด� ำรงชีวิต แบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ ได้แก่ - กุฏิของวัดอยู่ใกล้เคียงกับชุมชนหรืออยู่ในเขตเมือง (คามวาสี) มีการวางผัง และรูปร่าง คล้ายเรือนไทยแบบเรือนหมู่ เชื่อมต่อกันด้วยชาน - กุฏิของวัดที่อยู่ในป่า (อรัญวาสี) มักเป็นหลังเดียวโดด ๆ ตั้งอยู่ห่างกันพอสมควรตาม ลักษณะภูมิประเทศ แสดงลักษณะของความสันโดษออกมาอย่างเด่นชัด ภาพที่ ๓ ผลงานการออกแบบเรือนไทยหมู่ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=