ปี-39-ฉบับที่-3

ไตรภูมิ กถากั บอาเซี ยน 208 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 ชั้นสุดท้าย มีด้วยกัน ๗ ภูมิ เรียกว่า จตุตถฌาณภูมิ ในชั้นนี้ ๕ ชั้นสุดท้าย เรียกว่า ปัญจสุทธาวาศ มี เวหัปผลาภูมิ อสัญญิสัตตาภูมิ อเวหาภูมิ อตัปปาภูมิ ทัสสาภูมิ สุทัสสีภูมิ อกนิฏฐาภูมิ (ปัญจสุทธาวาศ เรียงล� ำดับจากชั้นต�่ ำสุดไปหาชั้นสูงสุด ดังนี้ อเวหาภูมิ อตัปปาภูมิ ทัสสาภูมิ สุทัสสีภูมิ และอกนิฏฐาภูมิ) ๓. อรูปภูมิ ๔ ประกอบด้วยภูมิ ดังต่อไปนี้ อากาสานัญจายตนภูมิ วิญญาณัญจายตนภูมิ เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ รวมภูมิทั้ง ๓ ภูมิ นี้เข้าเป็น ๓ ภูมิใหญ่ เรียกว่า “ไตรภูมิ” ไตรภูมิกถา เกิดจากความเชื่อทางศาสนาที่มีค่าและอิทธิพลต่อวรรณคดี เป็นประตูให้ก้าวสู่ วรรณคดีเรื่องอื่นของไทย เพราะวรรณคดีทุกเรื่องมักน� ำความเชื่อที่มีอยู่ หรือ เรื่องที่มีอยู่ในไตรภูมิไปอ้างอิง ตัวอย่าง รถที่นั่ง บุษบกบัลลังก์ตั้งตระหง่าน กว้างยาวใหญ่เท่า เขาจักรวาล ยอดเยี่ยมเทียมวิมานเมืองแมน ดุมวงกงหันเป็นควันคว้าง เทียมสิงห์วิ่งวางข้างละแสน สารถีขับขี่เข้าดงแดน พื้นแผ่นดินกระเด็นไปเป็นจุณ นทีตีฟองนองระลอก คลื่นกระฉอกกระฉ่อนชลข้นขุ่น เขาพระสุเมรุ เอนเอียงอ่อนละมุน อนนท์หนุนดินดาลสะท้านสะเทือน ทวยหาญโห่ร้องก้องกัมปนาท สุธาวาส ไหวหวั่นลั่นเลือน บดบังสุริยันตะวันเดือน คลาดเคลื่อนจตุรงค์ตรงมา (รามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๒)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=