ปี-39-ฉบับที่-3
207 คุณหญิ งกุลทรั พย์ เกษแม่นกิ จ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ ภูมิ ๓ คือ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ แบ่งย่อยเป็น กามภูมิ ๑๑ รูปภูมิ ๑๖ และอรูปภูมิ ๔ รวม ทั้งหมดมี ๓๑ ภูมิย่อยใน ๓ ภูมิใหญ่ (ไตรภูมิ) กามภูมิเป็นภูมิที่ยังเกี่ยวข้องอยู่กับกามวิสัย ๑. กามภูมิ ๑๑ แบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ คือ ทุคติภูมิ ๔ และ สุคติภูมิ ๗ ทุคติภูมิ ๔ (อบายภูมิหรือภูมิไม่ดี) คือ ๑. นรกภูมิ ๒. ติรัจฉานภูมิ ๓. เปตภูมิ ๔. อสุรกายภูมิ สุคติภูมิ ๗ (ภูมิที่ดี) แบ่งออกเป็นภูมิย่อย ๒ ภูมิ คือ ๑. มนุสสภูมิ ๑ และสวรรคภูมิ ๖ สุคติภูมิมีภูมิ ดังนี้ ๑. มนุสสภูมิ ๑ (แดนมนุษย์) ๒. สวรรคภูมิ ๖ (แดนสวรรค์) แบ่งเป็น ๒.๑ จาตุมหาราชิกาภูมิ (จตุมหาราช) ๒.๒ ตาวติงษภูมิ (ดาวดึงส์หรือไตรตรึงษ์) ๒.๓ ยามาภูมิ (ยามะ) ๒.๔ ดุสิตาภูมิ (ดุสิต) ๒.๕ นิมมานนรดีภูมิ ๒.๖ ปรนิมมิตวสวัตติภูมิ ๒. รูปภูมิ ๑๖ คือ ชั้นพรหมที่เราเรียกกันว่า พรหม ๑๖ ชั้น หรือ โสฬสพรหมพิมาน มีตาม ล� ำดับจากชั้นต�่ ำไปชั้นสูง ดังนี้ ๓ ชั้นแรก เรียกว่า ปฐมฌาณภูมิ มี พรหมปาริสัชชาภูมิ พรหมปโรหิตาภูมิ มหาพรหมภูมิ ๓ ชั้นถัดไป เรียกว่า ทุติยฌาณภูมิ มี ปริตตาภาภูมิ อัปปมานสุภาภูมิ อาภัสราภูมิ อีก ๓ ชั้นถัดไปอีก เรียกว่า ตติยฌาณภูมิ มี ปริตตสุภาภูมิ อัปปมานาภาภูมิ สุกกิณหภูมิ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=