ปี-39-ฉบับที่-3
ไตรภูมิ กถากั บอาเซี ยน 206 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 เรื่อง ไตรภูมิ เป็นวรรณคดีที่ได้รับยกย่องว่าดีที่สุดในประวัติวรรณคดีไทยยุคสุโขทัย เป็นวรรณคดี ที่แสดงปรัชญาแห่งพระบวรพุทธศาสนาอย่างชัดเจนลึกซึ้ง เนื่องด้วยเป็นผลงานประพันธ์ที่เกิดขึ้นจาก การศึกษาค้นคว้าข้อปรัชญาอย่างละเอียด โดยอาศัยคัมภีร์ต่าง ๆ ถึง ๓๒ คัมภีร์ มีเนื้อความกล่าวถึง จักรวาล วิทยา ปรัชญา จริยศาสตร์ ชีววิทยา ความคิดความเชื่อทางพุทธศาสนา ซึ่งหลักธรรมส� ำคัญ คือ การละเว้นกรรมชั่ว ประกอบกรรมดี วรรณคดีเรื่อง ไตรภูมิ นี้ นอกจากจะเป็นผลงานที่มีอรรถรส มีถ้อยค� ำส� ำนวนภาษาไพเราะงดงาม ประณีตอย่างยิ่ง แล้วยังแสดงให้เห็นอัจฉริยภาพ และอารยธรรมความเจริญของไทยในด้านอักษรศาสตร์ มานับแต่สมัยกรุงสุโขทัย อันเป็นระยะแรกก่อตั้งราชอาณาจักรไทย บ้านเมืองต้องการพลัง และแนวทาง ที่จะสร้างสรรค์ความร่มเย็นเป็นสุขให้แก่ประชาชน พร้อมกับสร้างความเป็นปึกแผ่นมั่นคงให้แก่ความเป็น ชาติ จึงย่อมจะต้องมีการสร้างอุดมการณ์ให้ประชาชนในชาติใฝ่ในคุณธรรม มีจิตใจรักสงบ มีความสามัคคี ปรองดอง มีความส� ำนึกผิดชอบชั่วดี มุ่งประกอบแต่กุศลกรรม และมีความมุ่งมั่นแน่นแฟ้นในคุณงามความดี ซึ่งได้เป็นที่ประจักษ์อยู่ทั่วไปในโลกแล้วว่า เครื่องมือส� ำคัญในการสร้างสรรค์ความสงบสุขในหมู่ประชาชน ในชาติ ก็คือ ศาสนาและกฎหมาย เชื่อกันว่า ไตรภูมิ หรือ ไตรภูมิกถา ซึ่งเป็นวรรณคดีพุทธศาสนานี้ได้ท� ำหน้าที่ดังกล่าวมาแล้ว เป็นอย่างดี นับได้ว่าเป็นวรรณคดีที่มีอิทธิพลต่อการด� ำรงชีวิตของประชาชน มีอิทธิพลต่อรากฐานการ ปกครอง การเมือง และวัฒนธรรมของชาติ โดยได้ปลูกฝังอุดมการณ์ความเชื่อเรื่องกรรมดีกรรมชั่ว และน� ำทางปวงชนให้มีจิตใจยึดมั่นในความดีงาม และใฝ่สันติ นอกจากนี้ วรรณคดีเรื่อง ไตรภูมิกถา ยังมีบทบาทมีอิทธิพลและมีสัมพันธภาพระหว่าง ศิลปวัฒนธรรมสาขาต่าง ๆ อย่างสูง ทั้งในด้าน วรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม และมีดนตรีกรรม ตลอดจน ประเพณีส� ำคัญ ทั้งประเพณีในราชส� ำนักและประเพณีพื้นบ้านทั่วไป จะเห็นได้จากภาพจิตรกรรม ฝาผนังตามวัดวาอารามต่าง ๆ ภาพจิตรกรรมในสมุดไทย หรือหนังสือใบลาน ศิลปินซึ่งเป็นโบราณจารย์ ได้ใช้แนวความคิดและเรื่องราวจาก ไตรภูมิ มาสร้างสรรค์ เป็นจ� ำนวนมาก การสร้างวัด มีโบสถ์ วิหาร พัทธสีมา ระเบียงคต การสร้างปราสาทราชวัง เป็นชั้นใน ชั้นนอก การสร้างพระเมรุมาศเป็นลักษณะ เขาพระสุเมรุ เหล่านี้ ล้วนเป็นศิลปกรรมที่ได้อิทธิพลทางแนวความคิดจากวรรณคดีเรื่อง ไตรภูมิ ทั้งสิ้น ยิ่งกว่านั้น ความเชื่อและอุดมการณ์จาก ไตรภูมิ อันมีความหมายว่าจักรวาลประกอบขึ้นด้วยภูมิทั้งสาม คือ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ และภูมิก็คือที่อยู่อาศัยของสัตว์โลกนี้ ยังเป็นที่ยอมรับนับถืออย่างกว้างขวางใน ประเทศแห่งภูมิภาคเอเชียเกือบทุกประเทศ เช่น ญี่ปุ่น จีน เกาหลี พม่า อินเดีย ฯลฯ อีกด้วย ไตรภูมิกถา หรือ เตภูมิกถา เป็นเรื่องราวของภูมิทั้ง ๓ ภูมิ ที่กล่าวเปิดเรื่องว่า “อันว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมจะเวียนวนไปมาและเกิดในภูมิ ๓ อันนี้แลฯ”
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=