ปี-39-ฉบับที่-3

205 คุณหญิ งกุลทรั พย์ เกษแม่นกิ จ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ วัดปากน�้ ำ จังหวัดสมุทรปราการ (วัดกลางวรวิหาร) ได้ต้นฉบับมาจากจังหวัดเพชรบุรีเป็นต้นฉบับใบลาน ล่องชาด ชื่อ เตภูมิกถา จารในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๑ (๒๓๕ ปีมาแล้ว) และสมเด็จพระเจ้า บรมวงศ์เธอ กรมพระยาด� ำรงราชานุภาพ ซึ่งเป็นปราชญ์แห่งวรรณคดี และพระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ โปรดให้น� ำออกมาตีพิมพ์เป็นครั้งแรก เรียกว่า ไตรภูมิพระร่วง (พระร่วง คือ ค� ำเรียกกษัตริย์สุโขทัย) กับพระมหาจันทร์ จารเมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๐ ความสอดคล้องกัน เข้าใจว่าคัดลอกมากจากฉบับพระมหาช่วย กับต้นฉบับพิเศษเฉพาะผูกต้นอีก ๑ ผูก นอกจากไ ตรภูมิกถา ฉบับที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด� ำรงราชานุภาพ จัดพิมพ์ แล้ว ยังมีไตรภูมิฉบับอื่น ๆ อีก ได้แก่ ไตรภูมิโลกวินิจฉัย คือ ไตรภูมิส� ำนวนที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรด ให้พระราชาคณะและราชบัณฑิตช่วยกันแต่งขึ้นเมื่อปีเถาะ จุลศักราช ๑๑๔๕ (พ.ศ. ๒๓๒๖) เป็นหนังสือ ๑ จบ ยังไม่สมบูรณ์ ครั้นถึง พ.ศ. ๒๓๔๕ โปรดให้ พระยาธรรมปรีชา (แก้ว) แต่งไตรภูมิโลกวินิจฉัย ให้จบความ ต่อมากองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร ได้มอบหมายให้นายพิทูร มะลิวัลย์ แปล เรียบเรียง ตรวจสอบช� ำระไตรภูมิโลกวินิจฉัยจากต้นฉบับใบลาน และเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้จัดพิมพ์ “ไตรภูมิโลกวินิจฉัย” ออกเผยแพร่ แบ่งเป็น ๓ เล่ม นอกจากนี้ ยังมี หนังสือภาพไตรภูมิ เก็บรักษาไว้ในหอสมุดแห่งชาติอีกหลายเล่ม ได้แก่ ไตรภูมิภาษา เขมร แผนที่ไตรภูมิโลกสัณฐานสมัยอยุธยา แผนที่ไตรภูมิสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สมุดภาพไตรภูมิฉบับ หลวงสมัยกรุงธนบุรี แผนที่ไตรภูมิโลกวินิจฉัยและไตรภูมิโลกวินิจฉัย โดยเฉพาะ สมุดภาพไตรภูมิฉบับ หลวงสมัยกรุงธนบุรี นั้น กรมศิลปากร โดยหอสมุดแห่งชาติได้อนุญาตให้คณะกรรมการพิจารณาและ จัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ ส� ำนักนายกรัฐมนตรี จัดพิมพ์จ� ำหน่ายเผยแพร่เป็นครั้งแรกแล้ว เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๔ ส่วน สมุดภาพไตรภูมิฉบับที่สวยงามที่สุดนั้น ปัจจุบันอยู่ที่ หอสมุดแห่งชาติเมืองแฟรงเฟิร์ต ของประเทศเยอรมนี เนื่องจากชาวเยอรมันมาซื้อและน� ำออกไปจากประเทศไทยก่อนที่ประเทศไทยจะมี พระราชบัญญัติโบราณสถานโบราณวัตถุ ซึ่งปกป้องมิให้ศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ ถูกขายให้ชาวต่างประเทศ และถูกน� ำออกนอกประเทศ (ในปัจจุบัน การน� ำศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ ออกนอกประเทศจะต้องผ่านการ พิจารณาของคณะกรรมการ และได้รับอนุญาตจากกรมศิลปากร จึงจะน� ำออกได้ และคณะกรรมการจะ อนุญาตให้น� ำออกเฉพาะศิลปวัตถุจ� ำลอง) จึงเป็นที่น่าเสียดาย ที่ทรัพย์สินทางปัญญาอันส� ำคัญของชาติ ตกไปอยู่ในต่างประเทศ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=