ปี-39-ฉบับที่-3

ไตรภูมิ กถากั บอาเซี ยน 204 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 (๔) วรรณคดีเรื่องไตรภูมิกถานี้ มีบทบาทส� ำคัญอย่างยิ่งต่อวงการศิลปะของไทย มีงานศิลปะของ ไทย รวมทั้งงานสถาปัตยกรรม จิตรกรรม และประติมากรรมจ� ำนวนมาก ที่ผู้สร้างสรรค์ได้รับความบันดาลใจ จากโครงสร้างและค� ำพรรณนาในหนังสือไตรภูมิกถา (๕) วรรณคดีเรื่องไตรภูมิกถานี้ ส่งเสริมค� ำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นรากฐานแห่ง วัฒนธรรมทางจิตใจของคนไทย งานนี้ไม่เพียงแต่มีอิทธิพลในการสร้างลักษณะอุปนิสัยใจคอของประชาชน ธรรมดาทั่วไปเท่านั้น แต่ยังมีอิทธิพลในการสร้างอุปนิสัยใจคอของชนชั้นปกครองของไทยอีกด้วย วรรณคดีเรื่องนี้เป็นผลงานที่มีคุณค่าแก่วิถีชีวิตของคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน จุดเด่นของวรรณกรรม เรื่องนี้ก็คือ ธรรมะทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นจุดร่วมส� ำคัญของทั้งปรัชญาทางศาสนา และปรัชญาทาง รัฐศาสตร์ ค� ำว่า ธรรมะ หรือ ธัมมะ นั้นอาจแปลได้ว่า ความถูกต้อง ความยุติธรรม เมตตากรุณา หรือ คุณธรรมอื่น ๆ ที่ทุกคนควรร่วมกันปลูกฝังให้มีขึ้นในตน ๖. ในสมัยสุโขทัยนั้น ยังไม่มีพจนานุกรม สารานุกรม หรือหนังสืออุเทศอื่น ๆ ที่จะใช้เป็นอุปกรณ์ ศึกษาได้ แต่สมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทย ผู้ทรงพระราชนิพนธ์ ได้ทรงพระอุตสาหวิริยะศึกษาค้นคว้า หาข้อมูลจากต้นฉบับใบลานต่าง ๆ ซึ่งเป็นลายมือเขียนและอ่านเข้าใจยาก ๗. ข้อก� ำหนดแห่งการกระท� ำทางกาย วาจา ใจ ทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล ที่เรียกว่า กุศลธรรมบถ อกุศลธรรมบถ และเรื่องท� ำนองเดียวกัน รวมทั้งโครงสร้างส� ำคัญแห่งไตรภูมิกถา ส่วนมากได้น� ำมาจาก พระคัมภีร์บาลี (พระไตรปิฎก) ซึ่งถือเป็นหลักฐานส� ำคัญมาก ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับชีวิตของผู้อยู่ อาศัยในภูมินั้น ๆ โดยมากก็มาจากข้อเขียนของพระอรรถกถาจารย์ (ผู้แต่งค� ำอธิบายพระไตรปิฎก) บ้าง พระฎีกาจารย์ (ผู้แต่งค� ำอธิบายอรรถกถา) บ้าง ในยุคต่อมาซึ่งถือเป็นเพียงหลักฐานชั้นที่ ๒ ที่ ๓ และมติ ของปัจเจกชน เพราะฉะนั้น ท่านผู้อ่านจึงไม่จ� ำเป็นต้องรับพิจารณารายละเอียดอย่างถี่ถ้วนหมดทุกข้อก็ได้ พุทธศาสนิกชนโดยทั่วไปได้รับการสั่งสอนให้พยายามท� ำตัวให้เป็นอิสระในการฟังหรืออ่าน เรื่องใด ๆ ที่ปรารถนา แต่ไม่ให้ด่วนปฏิเสธหรือด่วนรับอะไรโดยปราศจากการพิจารณาที่เหมาะสม และ ถ้าจะให้ดีก็ควรปลูกฝังปัญญาอันเห็นแจ้งให้เกิดขึ้นด้วยการปฏิบัติสมาธิและภาวนา ทั้งสมถภาวนา การฝึก จิตให้สงบ และวิปัสสนาภาวนา การฝึกให้เกิดปัญญาอันจะช่วยให้ขจัดความสงสัยต่าง ๆ ให้หมดสิ้นไปได้ การกล่อมเกลาจิตใจเพื่อท� ำลายกิเลส และทุกข์ทั้งปวง เป็นอุดมคติสูงสุดแห่งพระพุทธศาสนาซึ่ง ไตรภูมิกถาได้กล่าวไว้ในตอนท้าย เพื่อแสดงให้เห็นว่า แม้จะมีการเวียนว่ายตายเกิดในภูมิทั้งสาม แต่ก็ยังมี วิธีปฏิบัติเพื่อให้หลุดพ้นจากสภาพเช่นนั้น ซึ่งเป็นการเอาชนะความทุกข์ และสร้างสุขสมบูรณ์อย่างแท้จริง วรรณคดีเรื่อง ไตรภูมิกถา ส� ำนวนสมัยกรุงสุโขทัยนี้ ไม่ปรากฏว่ามีต้นฉบับเดิมครั้งสุโขทัย ตกทอดมาถึงปัจจุบัน ต้นฉบับที่น� ำมาเพื่อตรวจสอบช� ำระพิมพ์เผยแพร่นั้น คือ ฉบับพระมหาช่วย

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=