ปี-39-ฉบับที่-3
203 คุณหญิ งกุลทรั พย์ เกษแม่นกิ จ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ เช่นไตรภูมกถานี้หรือเรื่องอื่น ๆ เช่น นันโทปนันทสูตรค� ำหลวง พระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรในสมัย อยุธยา การรู้พากย์ทั้งสาม ก็เพื่อสามารถเลือกใช้ศัพท์อันงดงามเหมาะสมหลากหลาย คือภาษาบาลีสันสกฤต ซึ่งเป็นภาษาอินเดียโบราณ ภาษาไทย ซึ่งเป็นภาษาของชาติไทยที่บรรพบุรุษคือพ่อขุนรามค� ำแหง ได้สร้างสรรค์ตัวอักษรไว้ให้ถ่ายทอดภาษา และ ภาษาเขมร อันเป็นภาษาแห่งความรู้ ที่เป็นรากฐานของ ภาษาแห่งเอเชีย (๓) ในโลกของวรรณกรรม เมื่อ ๗๐๐ กว่าปีมาแล้ว คือในยุคสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชา ลิไทย มีหนังสือไม่กี่เรื่องที่ได้ให้บรรณานุกรมหรือหนังสืออ้างอิงไว้ด้วย แต่วรรณคดีเรื่องไตรภูมิกถานี้ พระองค์ท่านได้ทรงบันทึกรายชื่อหนังสืออ้างอิงไว้ชัดเจน เป็นคัมภีร์ภาษาบาลี คือ พระไตรปิฎก อรรถ กถา ค� ำอธิบายพระไตรปิฎก ฎีกา ค� ำอธิบายอรรถกถา และคัมภีร์พุทธศาสนาอื่น ๆ ไว้ ทั้งในบานแพนก (ปฐมพจน์) และอวสานพจน์กับทั้งยังจารึกนามนักปราชญ์ทางพุทธศาสนาทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ ผู้เป็นครูอาจารย์ของพระองค์ไว้ด้วย คัมภีร์ที่พระองค์ทรงน� ำมาใช้เป็นข้อมูลทรงพระราชนิพนธ์ไตรภูมิกถา เป็นคัมภีร์ค� ำสอนทาง พระพุทธศาสนา ๓๒ คัมภีร์ ดังมีรายชื่อในบานแพนกต้นเรื่องและท้ายเรื่อง ดังนี้ ๑. พระอรรถกถาจตุรารักขะ ๑๗. พระพุทธวงศ์ ๒. พระอรรถกถาฎีกาอภิธัมมาวตาร ๑๘. พระสารัตถสังคหะ ๓. พระอภิธรรมสังคหะ ๑๙. พระมิลินทปัญหา ๔. พระสุมังคลวิลาสินี ๒๐. พระปาเลยยสูตร ๕. พระปปัญจสูทนี ๒๑. พระมหานิทาน ๖. พระสารัตถปกาสินี ๒๒. พระอนาคตวงศ์ ๗. พระมนูรถปูรณิ ๒๓. พระจริยปิฎก ๘. พระลินัตถปกาสินี ๒๔. พระโลกบัญญัติ ๙. พระอรรถกถาฎีกาพระวินัย ๒๕. พระมหากัลป์ ๑๐. พระธรรมบท ๒๖. พระอรุณวติ ๑๑. พระมหาวัคค์ ๒๗. พระสุมันตาปาสาทิกา ๑๒. พระธัมมปทัฏฐกถา ๒๘. พระวิสุทธิมัคค์ ๑๓. พระมธุรัตถวิลาสินี ๒๙. พระลักขณาภิธรรม ๑๔. พระธรรมชาดก ๓๐. พระอนุฎีกาติงสธรรม ๑๕. พระชินาลังการ ๓๑. พระสารีริกพินิจจัย ๑๖. พระสารัตถทีปนี ๓๒. พระโลกุปปัตติ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=