ปี-39-ฉบับที่-3

201 คุณหญิ งกุลทรั พย์ เกษแม่นกิ จ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ เป็นผู้ตรวจสอบช� ำระ จึงรู้จัด เรื่องไตรภูมิกถาแล้วพอสมควร เมื่อตรวจสอบช� ำระแล้ว ต่อมากองวรรณคดี และประวัติศาสตร์ได้จัดพิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗, ๒๕๒๕ และ ๒๕๒๖ คณะกรรมการที่เป็นผู้แทนประเทศไทยคนอื่นก็เห็นชอบด้วย แม้จะเป็นห่วงว่า ไตรภูมิพระร่วง หรือ ไตรภูมิกถา เป็นเรื่องยาก ทั้งเป็นวรรณกรรมปรัชญาทางพุทธศาสนา สังคมและวิถีชีวิตของคนไทย ตลอดจนความเชื่ออันเป็นส่วนหนึ่งของธรรมะ ในการยึดมั่นปฏิบัติดี ละชั่ว อีกทั้งภาษาในไตรภูมิกถาเป็น ภาษาเก่า ค่อนข้างจะเข้าใจยาก และหลักการในการจัดท� ำวรรณกรรมอาเซียน คือ จะแปลวรรณกรรมของ ทุกประเทศ เพื่อให้ผู้อ่านของประเทศสมาชิกทุกประเทศ ต่างเข้าใจวิถีชีวิต วัฒนธรรม ความเจริญพัฒนา ภูมิปัญญา และอัจฉริยภาพของผู้คนในแต่ละประเทศ เป็นการศึกษาให้เข้าใจกันและกัน เพื่อจะได้อยู่ร่วม กันอย่างสันติสุข การด� ำเนินงานแปลวรรณกรรมอาเซียน เรื่องไตรภูมิกถา ด� ำเนินการโดยคณะท� ำงานแห่งชาติ ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทางวรรณคดีและผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษ ซึ่งรัฐบาลได้ตั้งให้นางกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ เป็นประธานคณะท� ำงานแห่งชาติ คณะท� ำงานแห่งชาติของไทยมี ๑๔ คน ประกอบด้วย ๑. พระเทพมุนี เจ้าอาวาสวัดดอน ที่ปรึกษา ๒. ดร.ประเสริฐ ณ นคร ที่ปรึกษา ๓. นายสุชีพ ปุญญานุภาพ ที่ปรึกษา ๔. นายพิทูร มะลิวัลย์ ที่ปรึกษา ๕. นายถวัลย์ ดัชนี ที่ปรึกษา ๖. นางกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ หัวหน้าคณะ ๗. ดร.สิทธา พินิจภูวดล รองหัวหน้าคณะ ๘. ดร.พงษ์ศรี เลขะวัฒนะ ผู้ท� ำงาน ๙. ดร.มนตรี อุมะวิชนี ผู้ท� ำงาน ๑๐. คุณหญิงจ� ำนงศรี รัตนิน ผู้ท� ำงาน ๑๑. นางรัชดา อิศรเสนา ผู้ท� ำงาน ๑๒. อาจารย์ผาณิต บุณยะวรรธนะ ผู้ท� ำงาน ๑๓. ดร.มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์ ผู้ท� ำงาน ๑๔. นางสาวศรีอุทัย เศรษฐพานิช เลขานุการ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=