ปี-39-ฉบับที่-3
วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ ไตรภูมิกถากับอาเซียน * คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ ราชบัณฑิต ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน * ปรับปรุงจากการบรรยายในการประชุมส� ำนักศิลปกรรม เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖ บทคัดย่อ ไตรภูมิกถากับอาเซียน กล่าวถึงที่มาของโครงการวรรณกรรมอาเซียน (Asean Litera - ture) ซึ่งคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศ ได้สนับสนุนส่งเสริมการด� ำเนินการ แปล ถอดความ และจัดพิมพ์วรรณคดีเรื่อง ไตรภูมิกถา ออกเผยแพร่ในโครงการวรรณกรรมอาเซียน เพื่อให้ประเทศสมาชิกของอาเซียนได้ศึกษาเนื้อหาสาระและคุณค่าของวรรณคดีเรื่อง ไตรภูมิกถา หรือ ไตรภูมิพระร่วง ซึ่งเป็นสุดยอดของวรรณคดีในสมัยสุโขทัย วรรณคดีเรื่อง ไตรภูมิกถา นี้ เป็นวรรณกรรมปรัชญาทางพุทธศาสนา เพื่อให้เข้าใจสังคม วิถีชีวิต และวัฒนธรรม ตลอดจนความเชื่อ อันเป็นส่วนหนึ่งของธรรมะในการยึดมั่น ปฏิบัติดี ละชั่ว ซึ่งเป็นปรัชญาแห่งการด� ำรงชีวิตที่น� ำไปสู่ความสุขสงบที่แท้จริง วรรณคดีเรื่อง ไตรภูมิกถา หรือ ไตรภูมิพระร่วง นี้ สมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์พระร่วง กรุงสุโขทัย ทรงพระราชนิพนธ์ ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๘๘. ค� ำส� ำคัญ : ไตรภูมิกถา, สมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท), โครงการวรรณกรรมอาเซียน ในอดีต นับย้อนขึ้นไปถึงประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๐ ดิฉันเป็นกรรมการสาขาวัฒนธรรมและสนเทศ แห่งสมาคมประชาชาติอาเซียน และได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนประเทศไปร่วมประชุมกับผู้แทนของประเทศ อาเซียนอื่น ๆ ปีละครั้ง ในการประชุมครั้งที่ ๕ ระหว่างวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ถึงวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ ที่ กรุงมะนิลา ผู้แทนของประเทศฟิลิปปินส์ได้เสนอ โครงการวรรณกรรมอาเซียน ต่อคณะกรรมการฝ่าย วัฒนธรรมและสนเทศ และที่ประชุมมีมติรับโครงการของฟิลิปปินส์ไว้ด� ำเนินการภายใต้การสนับสนุน ของกองทุนวัฒนธรรม และต่อมา คณะกรรมการถาวร (Standing Committee) ซึ่งเป็นหน่วยงาน สูงสุดของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้รับรองสนับสนุนให้ด� ำเนินการตามโครงการ ที่ฟิลิปปินส์เสนอในการประชุมครั้งที่ ๔ ที่ประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๒๕
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=