ปี-39-ฉบับที่-3

อั กษรไท : มรดกทางวั ฒนธรรมอั นล�้ ำค่าและเครื่ องมื อสื บทอดพระพุทธศาสนาของคนไท 192 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 เดินทางไปในมณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีนในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ พบว่าประเพณี ทานธรรมของคนไทในมณฑลยูนนานที่นับถือพุทธศาสนาก็ยังมีอยู่ มีผู้เชี่ยวชาญการเขียนตัวอักษรไทได้ สวยงามรับจ้างคัดลอก ที่เมืองจิงกู่หรือที่คนไทเรียกว่าเมืองบ่อมีผู้เชี่ยวชาญซึ่งรับคัดลอกพระธรรมคัมภีร์อยู่ ๔ คน ล้วนอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป ผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่าเนื่องจากเคยบวชท� ำให้มีโอกาสเรียนอักษรธรรม และอักษรแบบไทเหนือซึ่งเรียกกันว่าตัวลีก จึงเขียนได้ทั้ง ๒ แบบ ผู้เชี่ยวชาญอีกคนหนึ่งเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า ปัจจุบันชาวบ้านนิยมทานธรรมที่มีขนาดสั้นเพราะค่าจ้างเขียนไม่สูงมากนัก ธรรมที่มีขนาดยาวเช่นต� ำนาน พระเจ้าเลียบโลก หรือที่เรียกกันว่า พระเจ้าเทียวหนและมหาเวสสันดรชาดก ค่าจ้างในการคัดลอกจะตก ประมาณ ๗๐๐-๘๐๐ หยวน ผู้ว่าจ้างให้คัดลอกต้องมีฐานะดี พระธรรมคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนามีความ หมายส� ำหรับคนไทพุทธเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นเมื่อต้องอพยพโยกย้ายไปไหนก็มักน� ำไปด้วย ตัวอย่างที่เห็นได้ ชัดในประเทศไทยก็คือ บรรพบุรุษของคนไทยเชื้อสายลาวพวน ลาวหลวงพระบาง ไทใหญ่ ไทขึน ไทลื้อ ที่อพยพเคลื่อนย้ายจากถิ่นที่อยู่เดิมเข้ามาอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ในประเทศไทย นอกจากน� ำคัมภีร์ที่เป็น ต� ำราทางโหราศาสตร์และพิธีกรรมต่าง ๆ มาด้วยแล้ว ยังน� ำคัมภีร์ใบลาน และสมุดสาบันทึกเรื่องราว และพระธรรมค� ำสอนในพระพุทธศาสนามาด้วย การด� ำรงอยู่ของอักษรไทในอนาคต ในภาคเหนือของไทย ความพยายามที่จะสืบทอดความรู้ในด้านตัวอักษร และเอกสารตัวเขียน มีมาหลายปี วัด สถาบันการศึกษา และสถานที่บางแห่งติดป้ายชื่อเป็นอักษรธรรมล้านนาควบคู่กับอักษรไทย การสอนตัวอักษรธรรมล้านนามีในระดับมหาวิทยาลัยบางแห่ง โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยของสงฆ์ แต่จ� ำนวนผู้ที่อ่านและเขียนอักษรธรรมล้านนาได้ก็ยังมีจ� ำนวนไม่มากเท่าที่ควร เช่นเดียวกับในภาคอีสาน ผู้ที่มีความรู้ในอักษรธรรมอีสานและอักษรไทน้อยก็ยังมีจ� ำนวนจ� ำกัดในขณะที่เอกสารตัวเขียนที่พบในล้าน นาและภาคอีสานรวมทั้งที่อยู่ในหอสมุดแห่งชาติที่บันทึกด้วยอักษรดังกล่าวมีจ� ำนวนมหาศาล เมื่อผู้เขียนเดินทางไปสิบสองพันนาใน พ.ศ. ๒๕๔๕ การสอนตัวอักษรไทลื้อในโรงเรียนยังมี อยู่บ้าง และเป็นการสอนตัวไทลื้อใหม่ แต่เมื่อไปสิบสองพันนาในครั้งหลัง ๆ ทราบว่าโรงเรียนส่วนใหญ่ สอนแต่ภาษาจีน และอักษรจีน อักษรไทลื้อ และภาษาไทลื้อมีสอนในระดับสูงที่มหาวิทยาลัยชนชาติ ที่เมืองคุนหมิง ส่วนในหมู่บ้านที่สิบสองพันนามีการสอนตัวอักษรไทลื้อในวัด ผู้เรียนก็คือพระสงฆ์สามเณร แต่ก็เริ่มประสบปัญหาเพราะปัจจุบันมีผู้คิดจะบวชน้อยลง เยาวชนค� ำนึงถึงประโยชน์ที่จะใช้ภาษาจีนซึ่งเป็น ภาษาประจ� ำชาติและใช้ในการท� ำมาหากินได้มากกว่า ในตัวเมืองเชียงรุ่งซึ่งมีคนจีนอาศัยอยู่เป็นจ� ำนวนมาก เยาวชนชาวไทลื้อพูดภาษาไทลื้อน้อยลง บางบ้านก็พูดภาษาไทลื้อผสมภาษาจีน ผู้ที่อ่านตัวอักษรไทลื้อ ได้ก็มีน้อยลง ที่รัฐอัสสัมและรัฐอรุณาจัลประเทศ ประเทศอินเดีย มีการฟื้นฟูและพยายามส่งเสริมให้

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=