ปี-39-ฉบับที่-3

191 ประคอง นิ มมานเหมิ นท์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ มักเรียกว่า “ผู้สร้าง” ท� ำให้พระธรรมคัมภีร์ที่เก็บรักษาไว้ในวัดแต่ละเรื่องมีฉบับตัวเขียนหลายฉบับ ประเพณีทานธรรมนี้เกิดจากความเชื่อเรื่องอานิสงส์การสร้างพระธรรมคัมภีร์ซึ่งเชื่อกันว่าผู้สร้าง จะได้บุญกุศลแรงกล้า ประกอบกับมีความเชื่อว่าพระพุทธศาสนาจะสิ้นสุดลงเมื่อมีอายุได้ ๕,๐๐๐ ปี พุทธศาสนิกชนจ� ำเป็นต้องช่วยกันค�้ ำจุนไม่ให้เสื่อมสลายไปก่อนเวลา โดยการสร้าง และปฏิสังขรณ์ ศาสนสถาน และศาสนวัตถุ พระธรรมนับเป็นศาสนวัตถุที่ส� ำคัญอย่างยิ่ง ด้วยสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เคยมีพระพุทธด� ำรัสว่าหลังจากเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว พระธรรมจะเป็นศาสดาแทนพระพุทธองค์ ต่อไป การฟังและการมีส่วนสืบทอดพระธรรมค� ำสอนของพระพุทธเจ้าจึงเป็นเรื่องส� ำคัญส� ำหรับ พุทธศาสนิกชน และประเพณีทานธรรมซึ่งเป็นประเพณีน� ำพระธรรมคัมภีร์ที่คัดลอกใหม่ไปถวายวัดจึง เป็นประเพณีส� ำคัญ ประเพณีนี้มักจัดขึ้นในช่วงเข้าพรรษา มีทั้งที่เป็นประเพณีของชุมชนซึ่งทุกครอบครัว ร่วมกันจัดขึ้น และประเพณีบ� ำเพ็ญกุศลส่วนบุคคล พระธรรมคัมภีร์ที่น� ำไปถวายวัดมีทั้งที่มีขนาดยาว นับเป็นใบลานหลายผูกเช่นเรื่องมหาเวสสันดรชาดก ต� ำนานพระเจ้าเลียบโลก และพระธรรมคัมภีร์ ขนาดสั้นเรื่องต่าง ๆ ในท้องถิ่นที่ไม่มีใบลาน คนไทก็มักใช้กระดาษสาหรือกระดาษฝรั่งที่น� ำมาซ้อนกัน และพับส่วนหัวลงเล็กน้อยแล้วใช้ด้ายเย็บติดกันให้เป็นเล่ม ปัจจุบันนี้ในสิบสองพันนาธรรมที่มี ขนาดยาวยังนิยมจารบนใบลาน ร้อยเป็นผูก ๆ อยู่ แต่ธรรมที่มีขนาดสั้นมักเขียนบนกระดาษสาหรือ กระดาษจีนบาง ๆ หรือใช้กระดาษฝรั่งพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์แล้วน� ำมาซ้อนกันแล้วใช้ด้ายเย็บติดกัน ให้เป็นเล่ม ประเพณีการทานธรรมนี้นอกจากจัดขึ้นตามประเพณีในช่วงเข้าพรรษาแล้วชาวบ้านยังนิยม ทานธรรมในลักษณะที่เป็นพิธีกรรมเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เพื่อให้หายป่วยไข้ เพื่อให้ อยู่เย็นเป็นสุข เพื่อให้มีบุตร เพื่อให้เด็กมีสติปัญญาเฉียบแหลมเรียนหนังสือได้ส� ำเร็จ ชาวบ้านไทค� ำตี่ ในรัฐอรุณาจัลประเทศเคยเล่าให้ผูเขียนฟังว่า ถ้าอยากให้เด็กฉลาดต้องให้ถวายธรรมคัมภีร์เรื่อง มิลินทปัญหา วัดแต่ละแห่งในหมู่บ้านของคนไทจึงมีคัมภีร์ที่ชาวบ้านน� ำมาถวายเป็นจ� ำนวนมาก นับว่าตัวอักษรไทมีบทบาทส� ำคัญในการสืบทอดพระธรรมค� ำสอนทางพระพุทธศาสนาให้ด� ำรงอยู่ อย่างมั่นคงในถิ่นที่อยู่ของคนไท ตลอดไปถึงกลุ่มชาติพันธุ์อื่น เช่น ลัวะ ว้า ซึ่งนับถือพระพุทธ- ศาสนาโดยรับพระพุทธศาสนาไปจากคนไทก็ใช้อักษรธรรมด้วย ในกรณีของคนไทในสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนจีน หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ช่วงค.ศ. ๑๙๕๐-๑๙๗๙ ทางการ ห้ามประชาชนนับถือศาสนา วัดต่าง ๆ ไม่มีพระสงฆ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม ปี ๑๙๖๐-๑๙๗๖ ห้ามอ่านวรรณกรรม ที่สิบสองพันนามีการเผาคัมภีร์ในหมู่บ้านต่าง ๆ ถึง ๒ ครั้ง คัมภีร์ ที่อยู่ในวัดถูกเผาไปมาก เหลืออยู่ในบ้านเอกชนบางแห่ง อย่างไรก็ดี มีผู้แอบรักษาไว้ภายหลังจึงมีการน� ำมา คัดลอกต่อ ๆ กันมา เนื่องจากคัมภีร์จ� ำนวนมากถูกท� ำลายไป เมื่อทางการเปิดโอกาสให้นับถือศาสนาอีก ครั้งหนึ่ง จึงมีผู้เดินทางไปคัดลอกจากหมู่บ้านไทลื้อ ไทขึนหรือไทใหญ่ที่อยู่ในประเทศใกล้เคียง เมื่อผู้เขียน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=