ปี-39-ฉบับที่-3
อั กษรไท : มรดกทางวั ฒนธรรมอั นล�้ ำค่าและเครื่ องมื อสื บทอดพระพุทธศาสนาของคนไท 190 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 ที่ส� ำคัญยิ่งในการบันทึกเรื่องราวทางพระพุทธศาสนาเพื่อสืบทอด และเผยแผ่ให้กว้างขวางต่อไป เรื่องราว ทางพระพุทธศาสนาที่นิยมบันทึกอย่างแพร่หลาย ได้แก่ พุทธประวัติ ประวัติพระสาวก พระอภิธรรม นิบาต ชาดก และชาดกพื้นบ้านที่แต่งขึ้นในท้องถิ่น ต� ำนานพระธาตุเจดีย์ ต� ำนานพระพุทธบาท ต� ำนานพระพุทธ รูปและอานิสงส์ต่าง ๆ ดังจะเห็นได้จากรายชื่อเอกสารตัวเขียนที่มีการรวบรวมจากถิ่นที่อยู่ของคนไทหลาย แห่ง เช่น รายชื่อเอกสารไทลื้อสิบสองพันนาส� ำรวจ และรวบรวมโดย Kumiko Kato และ Isra Yanatan ๗ รายชื่อและเรื่องย่อวรรณกรรมไทขึน จัดท� ำโดย อนาโตล โรเจอร์ แปลติเยร์ ๘ รวมทั้งบัญชีรายชื่อ ประวัติ และเรื่องย่อของคัมภีร์ที่รวบรวมจากเมืองแลม ๙ เมืองกึ่งม้า ๑๐ และเขตปกครองตนเองใต้คง ๑๑ สาธารณรัฐประชาชนจีน รวมทั้งรายชื่อคัมภีร์ใบลานลาวที่เผยแพร่ใน digital library of laomanuscripts การเดินทางเข้าไปในถิ่นที่อยู่ของคนไทในประเทศอินเดียและสาธารณรัฐประชาชนจีนหลาย ครั้งท� ำให้ผู้เขียนสังเกตเห็นว่า คนไทที่นับถือพุทธศาสนาให้ความส� ำคัญและให้ความเคารพอย่างสูงต่อ พระธรรมคัมภีร์ทางพุทธศาสนา และน่าจะเป็นเพราะหาใบลานได้ยากจึงใช้กระดาษสาในการบันทึก สิ่งต่าง ๆ ผู้รู้พยายามสืบทอดโดยการคัดลอกต่อ ๆ กันมา คนไทยังนิยมไปวัดเพื่อฟังพระเทศน์ในช่วงเข้า พรรษาและคนไทบางกลุ่มเช่นไทใหญ่ และไทค� ำตี่ มีผู้รู้ที่เรียกว่า “จะเร” ท� ำหน้าที่อ่านเรื่องราวต่าง ๆ ทางพระพุทธศาสนาให้ชาวบ้านฟัง พระสงฆ์และผู้รู้ในกลุ่มคนไทหลายกลุ่ม จึงนิยมสร้างวรรณกรรมทาง ศาสนาเช่น ค� ำอธิบายเรื่องศีล และหลักธรรมต่าง ๆ การปฏิบัติกรรมฐานรวมทั้งนิทานชาดก เพื่อใช้เทศน์ และอ่านให้ชาวบ้านฟัง ปัจจัยส� ำคัญประการหนึ่งที่ท� ำให้เกิดการคัดลอกพระธรรมค� ำสอนทางพระพุทธศาสนาก็คือ ประเพณีทานธรรมซึ่งเป็นประเพณีที่พบในสังคมคนไทดังกล่ าว หลักส� ำคัญของประเพณีก็คือ น� ำพระธรรมคัมภีร์ไปถวายวัด โดยคัดลอกพระธรรมเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือหลายเรื่องจากฉบับที่มีอยู่แล้ว ผู้ที่ไม่ถนัดคัดลอกเองก็อาจจ้างผู้ที่มีลายมืองดงามคัดลอกให้ ผู้ที่ด� ำเนินการให้มีการคัดลอกพระธรรมนี้ ๗ เอกสารถ่ายส� ำเนา เผยแพร่ในการประชุมเรื่อง “Studies of History and Literature of Tai Ethnic Groups” Chiangmai University, 22-23 March 2001. ๘ Anatole Roger Peltier วรรณกรรมไทยเขิน. กรุงเทพฯ : ดวงกมล, 1987. อนึ่งปัจจุบันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ก� ำลังส� ำรวจ และถ่ายส� ำเนาเอกสารไทขึนเพิ่มขึ้น ๙ Yin Lun, Christian Daniels and Zheng Jing, Editors-in-Chief. A Synopsis of Dai Old Manuscripts in Menglian Country of Yunnan, China. The Nationalities Pubhlishing House of Yunnan, 2010. ๑๐ Yin Shaoting and Christian Daniels, Editors-in -Chief.A synopsis of Dai Old Manuscripts in Gengma County of Yunnan, China. The Nationalities Pubhlishing House of Yunnan, 2005. ๑๑ Yin Shaoting, Christian Daniels, Kuai Yongsheng and Yue Xiaobao. A Synopsis of Tay (Chinese Shan) Old Manuscripts in the Dehong Autonomous Region of Yunnan, China. The Nationalities Pubhlishing House of Yunnan, 2002.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=