ปี-39-ฉบับที่-3

189 ประคอง นิ มมานเหมิ นท์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ ชีวิตอยู่อย่างยาวนานในอัสสัมท� ำให้ชาวไทอาหมได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมจากอินเดียโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้าน ภาษาจ� ำเป็นต้องใช้ภาษาอัสสัมมีสซึ่งเป็นภาษาที่ใช้กันในอัสสัมจนท� ำให้คนไทอาหมมีโอกาสใช้ภาษาไท ของตนน้อยลงเรื่อย ๆ จนในที่สุดไม่ได้ใช้เลย และไม่สามารถพูดหรือเขียนภาษาของตนได้อีก แม้ปัจจุบัน ยังสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีไทบางอย่างอยู่ เช่น การบูชาผีบรรพบุรุษ และผีบ้านผีเมืองที่เรียกกันว่า “เมด�้ ำเมผี” ตลอดจนยังมีความเชื่อเรื่องขวัญและประเพณีการท� ำขวัญอยู่ แต่ไม่สามารถจะพูดภาษาไท อย่างไรก็ดี ชาวไทอาหมมีความภาคภูมิใจในความเป็นคนไทของตนเป็นอย่างยิ่ง นอกจากจัดประชุมวิชาการ เพื่อถ่ายทอดความรู้เรื่องประวัติความเป็นมาของกลุ่มตนแก่เยาวชนแล้ว นักวิชาการชาวไทอาหมหลาย คนได้ศึกษาและเขียนหนังสือเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่สืบทอดมาแต่โบราณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้เกิดการเคลื่อนไหวของของกลุ่มชนชั้นน� ำและปัญญาชน มีการฟื้นฟูภาษาไทอาหม โดยก่อตั้งสมาคมฟื้นฟูวัฒนธรรมไทอาหมขึ้นมาชื่อว่า วันออกพับลิกเมืองไท (Ban Ok Pop Lik Mioung Tai) ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Eastern Tai Literary Association ที่เมือง Dhemaji เมื่อ วันที่ ๘ เมษายน ค.ศ. ๑๙๘๑ มีการรื้อฟื้นโรงเรียนภาษาไทที่บ้านปัตซากุและอีก ๓๕๐ หมู่บ้าน ทั่วรัฐอัสสัม ส่งเสริมสนับสนุนให้ศึกษาเอกสารโบราณของไทอาหมที่เหลือตกทอดมาอย่างจริงจัง รวบรวม เก็บรักษารวมทั้งน� ำความรู้จากเอกสารโบราณออกเผยแพร่เป็นภาษาอัสสัมมีสและภาษาอังกฤษ ๖ คนไทค� ำตี่ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในรัฐอัสสัมและรัฐอรุณาจัลประเทศก็มีการสร้างต� ำราให้เยาวชนได้เรียนรู้ตัว อักษรเพื่อใช้ถ่ายทอดภาษาและวัฒนธรรมของตน ตลอดจนใช้ในการศึกษาเอกสารโบราณที่บรรพบุรุษ บันทึกไว้เป็นจ� ำนวนมากด้วย ตัวอักษรกับบทบาทในการสืบทอดพระพุทธศาสนาของคนไท คนไทที่นับถือพระพุทธศาสนาได้แก่ คนไทใหญ่ และไทขึนในเมียนมา คนไทค� ำตี่ ไทอ่ายตอน และ ไทพ่าเกในรัฐอัสสัม และไทค� ำตี่ในรัฐอรุณาจัลประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย คนไทลื้อและไทใหญ่ในมณฑล ยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ลาวในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นต้น คนไทดังกล่าว นี้ใช้ตัวอักษรบันทึกต� ำนานความเป็นมาของบ้านเมือง บทสวดในพิธีกรรม ฤกษ์ยาม ต� ำราเกี่ยวกับการท� ำ มาหากิน และต� ำรายาเช่นเดียวกับคนไทที่ไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา ที่ต่างออกไปก็คือ ตัวอักษรยังมีหน้า ๖ ดูรายละเอียดใน กนกวรรณ ชัยทัต “สถานภาพความรู้ปัจจุบันของการศึกษาเอกสารโบราณของไทอาหม” ใน ด้วยรัก : ชนชาติไท รวมบทความในโอกาสศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา อายุ ๗๒ ปี กรุงเทพฯ : บริษัทส� ำนักพิมพ์สร้างสรรค์ จ� ำกัด, ๒๕๕๖ (หน้า ๕๘-๗๗) และฉัตรทิพย์ นาถสุภา และเรณู วิชาศิลป์. “การฟื้นฟูวัฒนธรรมไทในรัฐอัสสัม” ใน ฉลาดชาย รมิตานนท์ วิระดา สมสวัสดิ์ และเรณู วิชาศิลป์, บรรณาธิการ. ไท จัดพิมพ์เผยแพร่โดย The Toyota Foundation และศูนย์สตรีศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์มิ่งเมือง ๒๕๔๑. (หน้า ๔๖๘-๔๘๓)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=