ปี-39-ฉบับที่-3
อั กษรไท : มรดกทางวั ฒนธรรมอั นล�้ ำค่าและเครื่ องมื อสื บทอดพระพุทธศาสนาของคนไท 188 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 มีเอกสารตัวเขียนบันทึกต� ำนานและต� ำราเกี่ยวกับพิธีกรรมต่าง ๆ ซึ่งบรรพบุรุษน� ำมาด้วยเป็นจ� ำนวน ไม่น้อย เอกสารตัวเขียนดังกล่าวล้วนบันทึกด้วยตัวอักษรไทที่ใช้ในกลุ่มของตน เมื่อผู้เขียนไปเยือนถิ่นที่ อยู่ของคนไทพ่าเก ไทอ่ายตอน ในรัฐอัสสัมและไทค� ำตี่ในรัฐอรุณาจัลประเทศ สาธารณรัฐอินเดียก็พบว่า แต่ละกลุ่มมีเอกสารตัวเขียนจ� ำนวนมาก บางเรื่องบรรพบุรุษน� ำมาจากถิ่นที่อยู่เดิม เช่นวัดแห่งหนึ่งของไท ค� ำตี่มีเอกสารเป็นคัมภีร์ทางพุทธศาสนาชื่อ ธัมมสังคณี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพระอภิธรรม ชาวบ้านเล่าว่า บรรพบุรุษน� ำคัมภีร์นี้มาจากถิ่นเดิมในพม่ากว่า ๒๐๐ ปีมาแล้ว คัมภีร์ดังกล่าวนี้นับเป็นสมบัติอันหาค่า มิได้ของชุมชน ได้รับการเก็บรักษาไว้ในตู้เป็นอย่างดี ถึงคราวสงกรานต์ก็น� ำออกมาบูชา และเปลี่ยนผ้า ที่ห่อ นอกจากนี้ เอกสารตัวเขียนบางเรื่องมีความส� ำคัญและเป็นสิ่งมีค่ายิ่งของวงศ์ตระกูล เจ้าฟ้าในหมู่บ้าน ไทค� ำตี่แห่งหนึ่งได้น� ำเอกสารที่เป็นพงศาวดารบันทึกการสืบเชื้อสายของตระกูลของตนออกมาอ่านให้ ผู้เขียนและคณะที่ไปเยือนฟังอย่างภาคภูมิใจ คนไทบางกลุ่มก็ภูมิใจและถือว่าตัวอักษรคือเครื่องแสดงอัตลักษณ์อย่างหนึ่งของตน จะเห็น ได้ว่าวัดหลายแห่งในหมู่บ้านของคนไทในมณฑลยูนนานมักเขียนชื่อวัดเป็นอักษรไทควบคู่กับอักษรจีน และมีการสอนอักษรไทในวัด ผู้ผ่านการบวชเรียนมีบทบาทส� ำคัญในการสืบทอดตัวอักษรไททั้งในด้าน การสอนและการคัดลอกคัมภีร์ทางศาสนา ผู้เฒ่าผู้แก่ไทลื้อในสิบสองพันนาบางคนเคยกล่าวกับผู้เขียนว่า “ตัวลื้อคือไทลื้อจะต้องรักษาไว้” ค� ำว่า “ตัวลื้อ” นี้หมายถึงอักษรธรรมซึ่งมีรูปแบบตัวอักษร และอักขรวิธี ซึ่งใช้สืบทอดกันมาแต่โบราณในสิบสองพันนา ผู้เฒ่าผู้แก่ไทลื้อหลายคนบ่นเสียดายที่หลังเปลี่ยนแปลงการ ปกครองใน ค.ศ. ๑๙๔๙ มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบตัวอักษรไทลื้อบางตัว และเปลี่ยนแปลงอักขรวิธีในการ เขียนด้วย ตัวอักษรแบบใหม่นี้เรียกกันว่า “ตัวลื้อใหม่” หรือ “ตัวใหม่” และส่วนตัวอักษรที่สืบทอดมาแต่ โบราณเรียกว่า “ตัวลื้อเก่า”หรือ “ตัวเก่า” อักษรไทลื้อใหม่มีตัวอักษรน้อยลง เขียนตามเสียง โดยจัดให้ พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์อยู่บนบรรทัดเดียวกันหมด ข้อดีคือช่วยให้หัดอ่านหัดเขียนได้ง่ายขึ้น แต่มี ข้อเสียคือคนรุ่นหลังที่เรียน “ตัวลื้อใหม่” ส่วนใหญ่ไม่สามารถจะอ่านวรรณกรรมที่สืบทอดมาแต่โบราณ ซึ่งเขียนด้วยตัวอักษรและใช้อักขรวิธีแบบเก่าได้ ปัจจุบันนี้มีหนังสือวรรณกรรมไทลื้อที่พิมพ์โดยใช้ตัวอักษร ลื้อแบบเก่าออกเผยแพร่แต่ก็มีคนอ่านได้น้อยผู้เฒ่าผู้แก่ไทลื้อหลายคนจึงมักปรารภด้วยความเสียดาย ภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษบันทึกไว้และคนรุ่นใหม่ไม่สามารถจะเข้าถึง การพยายามฟื้นฟูภาษาและเรียนรู้ตัวอักษรตลอดจนการอนุรักษ์เอกสารโบราณของไทอาหม ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า ภาษา ตัวอักษร และเอกสารที่บรรพบุรุษได้บันทึกไว้เป็นมรดก ล�้ ำค่า และเป็นเครื่องแสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มตน ไทอาหมอพยพไปจากอาณาจักรเมืองมาวขึ้นไปอยู่ในรัฐ อัสสัมของประเทศอินเดียเป็นเวลากว่า ๗๐๐ ปี สามารถก่อตั้งอาณาจักร และมีอ� ำนาจเหนือชนพื้นเมือง เป็นเวลายาวนานจนกระทั่งตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ และรวมเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินเดีย การด� ำรง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=