ปี-39-ฉบับที่-3

187 ประคอง นิ มมานเหมิ นท์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ แถวนั้นก็แล้วกัน พอดายหญ้าเสร็จตัวอักษรก็แทบไม่เหลือแล้วเพราะตัวอักษรที่ได้มาเขียนบนหนังกวาง และสุนัขคาบหนังกวางไปกินเกือบหมด เหลือเศษอยู่เล็กน้อย เลยมีตัวอักษรเหลือพอเป็นตัวอย่างเพียง บางตัวเท่านั้น ๔ กลุ่มชนบางกลุ่มมีตัวอักษรใช้โดยไม่ทราบว่าในอดีตบรรพบุรุษรับตัวอักษรนั้น ๆ มาจากกลุ่มชนอื่น ก็มักจะเล่าอย่างภาคภูมิใจว่าบรรพบุรุษของตนเป็นผู้คิดขึ้นใช้เองเป็นเวลานานมาแล้ว เช่น ไทด� ำและ ไทขาว ในสาธารณรัฐเวียดนามบางคนเคยเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า บรรพบุรุษของตนมีตัวอักษรใช้มาเป็นพัน ๆ ปี แล้วซึ่งหากพิจารณารูปแบบและอักขรวิธีของตัวอักษรของคนไทสองกลุ่มดังกล่าวจะเห็นว่าคล้ายคลึงกับ อักษรลาวหรืออักษรไทยน้อยมาก ประกอบกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ ของคนไท ๒ กลุ่มดังกล่าวกับลาวในอดีต ทั้งยังพบวรรณกรรมบางเรื่อง เช่น เรื่องขุนเจืองในกลุ่มไทด� ำ และไทแดง เรื่องขุนทึงในกลุ่มไทด� ำและไทขาว ซึ่งเมื่อพิจารณารายละเอียดในด้านเนื้อเรื่องและการใช้ ภาษาก็อาจกล่าวได้ว่า น่าจะเป็นไปได้ว่า ไทด� ำ ไทขาวตลอดจนไทแดงน่าจะรับตัวอักษรและวรรณกรรม หลายเรื่องไปจากลาว เมื่อหลายสิบปีมาแล้วไทลื้อในสิบสองพันนาบางคนก็เคยยืนยันกับคนไทยที่ไป เยือนว่า ตัวอักษรของตนมีมานานนับเป็นพันปีเช่นกัน เมื่อมีการศึกษารูปแบบตัวอักษร อักขรวิธี ตลอดจน ความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของสิบสองพันนากับล้านนา นักวิชาการด้านไทศึกษา ในปัจจุบันจึงมีความเห็นว่า ไทลื้อในสิบสองพันนาน่าจะรับตัวอักษรไปจากล้านนาอาจรับจากล้านนาโดยตรง และ/หรือรับผ่านเชียงตุงด้วย ตัวอักษรจึงนับเป็นข้อมูลอย่างหนึ่งที่อาจใช้ในการจัดกลุ่มและศึกษาความ สัมพันธ์ของกลุ่มชนตามข้อเสนอของประเสริฐ ณ นคร เพราะกลุ่มชนที่ใช้ตัวอักษรร่วมกันมักอยู่ใกล้เคียง กันและมีความสัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่งในอดีต เช่น มีความสัมพันธ์ทางการเมืองการปกครองและ/ หรือทางด้านวัฒนธรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเผยแผ่ และการรับอิทธิพลด้านความเชื่อ และประเพณี คนไทหลายกลุ่มมีเอกสารตัวเขียนที่คัดลอกด้วยตัวอักษรของตนสืบต่อ ๆ กันมาเป็นจ� ำนวนมาก คนไทที่ยังยึดถือความเชื่อและประเพณีพิธีกรรมแบบเดิมอยู่ เช่น ไทด� ำ ไทขาว และไทแดงใช้ตัวอักษร ของตนบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ เช่น ต� ำนานความเป็นมาของโลกและสรรพสิ่ง เรื่องการสร้างบ้านแปลงเมือง บทสวดในพิธีกรรมต่าง ๆ ฤกษ์ยามส� ำหรับประกอบพิธีกรรมและการท� ำมาหากิน ต� ำรายา ตลอดจน วรรณกรรมร้อยกรองส� ำหรับขับเป็นท� ำนอง ๕ เอกสารตัวเขียนดังกล่าวนี้นับว่าเป็นสมบัติที่ล�้ ำค่ายิ่งของ กลุ่มชนเมื่อมีเหตุให้ต้องอพยพโยกย้ายถิ่นฐานไปอยู่ในดินแดนอื่นก็มักจะน� ำไปด้วย ดังจะเห็นได้จากการ ส� ำรวจพบว่าในหมู่บ้านคนไทยโซ่งหรือคนไทยเชื้อสายไทด� ำที่กระจายอยู่ในหลายจังหวัดในประเทศไทย ๔ วีรวัชร ปิ่นเขียน. นิทานกะเหรี่ยงอ� ำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี. เอกสารอัดส� ำเนา. ๒๕๒๕ (หน้า ๒๐๓) ๕ ดูตัวอย่างวรรณกรรมไทด� ำใน ประคอง นิมมานเหมินท์ “วิถีชีวิตและวรรณกรรมไทด� ำ” ในไขค� ำแก้วค� ำแพง พินิจวรรณกรรมไทย-ไท. กรุงเทพฯ : ส� ำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๔ (หน้า ๘๓-๑๓๖)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=