ปี-39-ฉบับที่-3

อั กษรไท : มรดกทางวั ฒนธรรมอั นล�้ ำค่าและเครื่ องมื อสื บทอดพระพุทธศาสนาของคนไท 186 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 ตัวอักษรของคนไทกลุ่มนี้ก็อาจจัดอยู่ในกลุ่มอักษรไทยลาวด้วย ส่วนอักษรธรรมนั้น นอกจากใช้ในกลุ่ม ไทลื้อ ไทขึนหรือไทเขินในเมียนมาและไทลื้อในสิบสองพันนา สาธารณรัฐประชาชนจีนแล้ว เมื่อผู้เขียน เดินทางไปมณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๔ พบว่าคนไทในหลายเมือง เช่น เมืองจิงกู่หรือเมืองบ่อ เมืองนิม เมืองติ่ง และเมืองแลม ก็ใช้ตัวอักษรธรรมบันทึกเรื่องราวทางพุทธศาสนา และเรื่องอื่น ๆ ด้วย การที่คนไทในดินแดนเหล่านี้ใช้อักษรธรรมก็เพราะรับพุทธศาสนาจากล้านนาผ่าน เชียงตุง ที่เรียกกันว่า นิกายโยน หมายถึงนิกายยวน ๓ อย่างไรก็ดี บริเวณนี้โดยเฉพาะแถบเมืองกึ่งม้าพบ เอกสารที่ใช้อักษรตัวลีกยาวแบบไทเหนือในเขตปกครองตนเองใต้คงจ� ำนวนไม่น้อย แสดงให้เห็นความ สัมพันธ์ของคนไทในเมืองนี้กับคนไทในเขตปกครองตนเองใต้คง ที่น่าสนใจคือวัดบางแห่งเช่น วัดกุนหนอง ที่เมืองติ่งพบทั้งเอกสารที่เขียนด้วยตัวลีกยาวแบบตัวไทเหนือ และเอกสารที่เขียนด้วยอักษรธรรม บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะอภิปรายว่า ตัวอักษรที่คนไทใช้ในกลุ่มของตนนั้น มีฐานะเป็นมรดก ทางวัฒนธรรมอันล�้ ำค่า และมีบทบาทเป็นเครื่องมือส� ำคัญในการค�้ ำจุนพระพุทธศาสนาอย่างไร ข้อมูล ส่วนหนึ่งมาจากการศึกษาภาคสนามของผู้เขียนในถิ่นที่อยู่ของคนไทบางกลุ่มในสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐอินเดีย ตัวอักษรในฐานะมรดกทางวัฒนธรรมอันล�้ ำค่าของคนไท กลุ่มชนแต่ละกลุ่มมักจะมีสมบัติทางวัฒนธรรมที่แสดงเอกลักษณ์ของตน เช่น เครื่องแต่งกาย บ้านเรือน ภาษาที่ใช้สื่อสาร อาหารการกิน ความเชื่อและประเพณีพิธีกรรม แต่ละกลุ่มชนจึงมัก ภาคภูมิใจในสิ่งที่แสดงเอกลักษณ์ดังกล่าว ถือว่าเป็นมรดกที่รับสืบทอดมาจากบรรพบุรุษของตนกลุ่มชนใด มีตัวอักษรของตนเองใช้ก็ถือว่ามีความเจริญ มีอารยธรรม ด้วยเหตุนี้กลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่มซึ่งไม่มี ตัวอักษรใช้จึงมักมีต� ำนานในรูปแบบนิทานอธิบายเหตุชี้แจงว่า ในอดีตกลุ่มของตนก็เคยมีตัวอักษรโดย ได้รับตัวอักษรมาจากเทพเจ้า แต่บังเอิญมีเหตุท� ำให้ตัวอักษรเกิดสูญหายไป เรื่องที่เล่ามักมีเนื้อเรื่องคล้าย กันสรุปได้ว่า ตัวอักษรที่ได้มานั้นเขียนไว้บนหนังสัตว์และสุนัขคาบหนังสัตว์นั้นไปกิน จึงท� ำให้กลุ่มของตน ไม่มีตัวอักษรใช้ ชาวกะเหรี่ยงที่ต� ำบลสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ตั้งถิ่นฐานอยู่ท่ามกลางชาวพุทธและภายหลัง นับถือพระพุทธศาสนา มีต� ำนานเล่าความเป็นมาของตัวอักษรของตนว่า ในสมัยนานมาแล้วพระพุทธเจ้า เป็นผู้ให้ตัวอักษรแก่ชนชาติต่าง ๆ ทั้งไทย ฝรั่ง จีน แขก พม่า กะเหรี่ยง ชนกลุ่มต่าง ๆ พากันไปรับตัวอักษร ด้วยมือของตนแล้วน� ำไปเรียน และสอนลูกหลานของตน เฉพาะชาวกะเหรี่ยงพระพุทธเจ้าน� ำตัวอักษรมา ให้ถึงไร่เลยทีเดียว แต่ขณะนั้นกะเหรี่ยงเจ้าของไร่ดายหญ้าอยู่จึงไม่ค่อยสนใจ ทูลพระพุทธเจ้าว่าให้โยนไว้ ๓ คนไทในเขตปกครองตนเองใต้คง มณฑลยูนนานรับพุทธศาสนาจากล้านนาด้วย เรียกนิกายนี้ว่า กึงโยน คือนิกายยวน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=