ปี-39-ฉบับที่-3

185 ประคอง นิ มมานเหมิ นท์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ น่าสนใจว่าหากแบ่งกลุ่มคนไทโดยพิจารณาจากตัวอักษรที่ใช้ร่วมกันแทนการแบ่งกลุ่มตามวิธีการทาง ภาษาศาสตร์ อาจช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของคนไทแต่ละกลุ่มได้ไม่มาก ก็น้อย และได้แบ่งกลุ่มคนไทตามตัวอักษรที่ใช้ร่วมกันออกเป็น ๓ กลุ่มคือ ๑. กลุ่มที่ใช้ตัวอักษรไทอาหม ไทใหญ่ ไทเหนือ ๒. กลุ่มที่ใช้อักษรไทน้อย อักษรลาว อักษรไทด� ำ ไทขาวและไทแดง และ ๓. กลุ่มที่ ใช้อักษรธรรม อักษรธรรมอีสาน อักษรธรรมไทในสิบสองพันนาและอักษรธรรมไทในพม่า (เรื่องเดิมหน้า ๘๓) ต่อมาเรณู วิชาศิลป์ ก็ได้แบ่งกลุ่มตัวอักษรไทตามรูปลักษณะและอักขรวิธีออกเป็น ๓ กลุ่มเช่นเดียว กับประเสริฐ ณ นคร แต่ได้ปรับเปลี่ยนชื่อของบางกลุ่มพร้อมทั้งให้รายละเอียดของกลุ่มอักษรแต่ละกลุ่ม เพิ่มขึ้นดังนี้ ๑. กลุ่มอักษรธรรม ได้แก่ อักษรธรรมล้านนา อักษรธรรมลาว/อีสาน อักษรธรรมลื้ออักษร ธรรมเขิน ๒. กลุ่มอักษรไทฉาน ได้แก่ อักษรไทเมาในรัฐฉานของพม่า อักษรไทเหนือไทใต้คง ๑ ในยูนนาน ประเทศจีน อักษรไทใหญ่และไทค� ำตี่ในรัฐฉาน และรัฐคะฉิ่นเมียนมาอักษรไทอาหม อักษรไทค� ำตี่ อักษรไทอ่ายตอนในอัสสัม ประเทศอินเดีย ๓. กลุ่มอักษรไทย-ลาว ได้แก่ อักษรไทย (สยาม) อักษรฝักขาม อักษรไทน้อย อักษรลาว อักษรไทด� ำ อักษรไทขาว (เรณู วิชาศิลป์. ๒๕๔๘, หน้า ๔) หากพิจารณาจากเอกสารตัวเขียนของคนไทแต่ละกลุ่มอย่างละเอียดก็จะพบว่า ตัวอักษรและ อักขรวิธีที่คนไทแต่ละกลุ่มใช้นั้นไม่เหมือนกันทีเดียว มีลักษณะบางอย่างต่างกันไปบ้าง ทั้งนี้เนื่องมาจาก สาเหตุต่าง ๆ เช่น วัสดุที่ใช้จารหรือเขียน ลายมือ และการดัดแปลงของคนในท้องถิ่น ดังจะเห็นได้ว่า อักษรไทเหนือในเขตปกครองตนเองใต้คง สาธารณรัฐประชาชนจีน และอักษรไทใหญ่ในเมียนมามีข้อ แตกต่างกัน คืออักษรไทเหนือมีลักษณะเป็นตัวยาว เรียกกันว่า “ลีกตัวยาว” หรือ “ลีกถั่วงอก” ๒ ในขณะที่ ตัวอักษรไทใหญ่มีลักษณะกลม เรียกว่า “ลีกมน” แต่ก็จัดว่าอยู่ในกลุ่มอักษรไทฉานด้วยกัน เพราะลักษณะ ส่วนใหญ่และอักขรวิธีเป็นแบบเดียวกัน นอกจากนี้ คนไทบางกลุ่มได้คิดตัวอักษรเพิ่มในภายหลัง จึงอาจ ท� ำให้ตัวอักษรของคนไทแต่ละกลุ่มมีจ� ำนวนไม่เท่ากัน อักษรธรรมที่กลุ่มชนในล้านนา ไทลื้อ ไทขึน และ ลาวใช้ก็มีลักษณะบางประการแตกต่างกัน ผู้ช� ำนาญการอ่านตัวอักษรดังกล่าวจึงสามารถบอกได้ว่า เอกสาร ที่พบผู้จารหรือเขียนเป็นคนล้านนาไทขึน ไทลื้อ หรือลาว อนึ่ง ถ้าพิจารณาตัวอักษรของคนไทแถบเมืองเง่อาน ในสาธารณรัฐเวียดนามจะเห็นว่ามีลักษณะ คล้ายคลึงกับอักษรไทด� ำและอักษรไทขาว ต่างกันที่วิธีเขียนคือเขียนจากบนลงล่างแบบการเขียนอักษรจีน ๑ หมายถึงไทในเขตปกครองตนเองใต้คงไท-กะฉิ่น มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ๒ ค� ำว่า ลีก มาจากภาษาบาลี ลิกฺข แปลว่า เขียน คนไทใช้หมายถึง ตัวอักษรหรือตัวหนังสือและหนังสือ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=