ปี-39-ฉบับที่-3

The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 อักษรไท : มรดกทางวัฒนธรรมอันล�้ ำค่าและเครื่องมือ สืบทอดพระพุทธศาสนาของคนไท * ประคอง นิมมานเหมินท์ ราชบัณฑิต ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน บทน� ำ ค� ำว่า คนไท ในที่นี้หมายถึงกลุ่มชนที่พูดภาษาตระกูลไทหรือเคยพูดภาษาตระกูลไทบางกลุ่ม ซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศต่าง ๆ ได้แก่สาธารณรัฐอินเดีย เมียนมา สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม คนไทดังกล่าวมีตัวอักษรใช้ สมพงศ์ วิทยศักดิพันธุ์ แบ่งอักษรที่คนไทใช้ออกเป็น ๕ กลุ่ม คือ กลุ่มอักษรไทใหญ่ กลุ่มอักษรไทน้อย กลุ่มอักษร ธรรม กลุ่มอักษรจ้วงโบราณ และกลุ่มอักษรที่เขียนด้วยตัวโรมัน รวมทั้งให้ข้อมูลว่า คนไทที่ใช้อักษรโรมัน เขียนภาษาของตนได้แก่จ้วงในสาธารณรัฐประชาชนจีน และคนไทที่อยู่ในเขตภาคเหนือของเวียดนาม (สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ หน้า ๔ และ หน้า ๒๘๕-๒๘๗) ประเสริฐ ณ นคร ผู้เชี่ยวชาญการอ่านอักษรไทแบ่งกลุ่มอักษรไทตามรูปลักษณะ และอักขรวิธี ออกเป็น ๓ กลุ่ม คือกลุ่มอักษรไทอาหม กลุ่มอักษรพ่อขุนราม และกลุ่มอักษรธรรม ทั้งนี้โดยไม่รวมอักษร จ้วงโบราณ และอักษรโรมัน (ประเสริฐ ณ นคร. ๒๕๔๑, หน้า ๗๕) นอกจากนี้ยังได้เสนอข้อคิดเห็นที่ บทคัดย่อ คนไทที่อาศัยอยู่ในประเทศต่างๆ หลายกลุ่มมีตัวอักษรของตนใช้ส� ำหรับบันทึกเรื่องราว ทางประวัติศาสตร์ ประเพณีพิธีกรรม และองค์ความรู้ด้านต่างๆ ตัวอักษรจึงเป็นมรดกวัฒนธรรมอัน ล�้ ำค่าและเครื่องแสดงอัตลักษณ์อย่างหนึ่งของคนไท ในสังคมไทที่นับถือพระพุทธศาสนา ตัวอักษรมี บทบาทเป็นสิ่งค�้ ำจุนพระพุทธศาสนาที่ส� ำคัญมากอย่างหนึ่ง คนไทเชื่อกันว่าการถวายพระธรรมคัมภีร์ ให้วัด โดยการคัดลอกเองหรือจ้างผู้อื่นคัดลอกถวายนับเป็นอานิสงส์ที่ยิ่งใหญ่ เอกสารตัวเขียนที่พบ ในวัดของคนไทส่วนใหญ่จึงเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ค� ำส� ำคัญ : คนไท, อักษรไท, เอกสารตัวเขียนของคนไท, พุทธศาสนาในสังคมไท * ปรับปรุงจากการบรรยายในการประชุมส� ำนักศิลปกรรม เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=