ปี-39-ฉบับที่-3

179 กาญจนา นาคสกุล วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ นก เช่น นกเขา นกแก้ว นกกระจอก นกเป็ดน�้ ำ นกเงือก นกยาง นกกก นกแก๊ก นกพริก ฯลฯ หนู เช่น หนูตะเพา หนูนา หนูผี หนูถีบจักร หนูพุก หนูท้องขาว ฯลฯ งู เช่น งูเขียว งูเห่า งูดิน งูหม้อ งูสามเหลี่ยม งูลายสอ งูแมวเซา ฯลฯ ปลา เช่น ปลาทู ปลาเข็ม ปลาเงิน ปลาทอง ปลาค้าร์พ ปลาวาฬ ปลาหมึก ปลานิล ปลาทับทิม ปลาแรด ฯลฯ หอย เช่น หอยขม หอยมือเสือ หอยเสียบ หอยเจดีย์ หอยหลอด หอยตลับ หอยทับทิม หอยโข่ง หอยแครง ฯลฯ เต่า เช่น เต่าหับ เต่านา เต่าหวาย เต่าตนุ เต่าปูลู ฯลฯ เสือ เช่น เสือด� ำ เสือดาว เสือโคร่ง เสือสมิง ฯลฯ หมี เช่น หมีควาย หมีคน หมีขาว หมีขั้วโลก ฯลฯ แมง เช่น แมงมุม แมงดา แมงเม่า แมงวัน แมงปอ แมงสาบ แมงทับ ฯลฯ พยาธิ์ เช่น พยาธิ์ใบไม้ พยาธิ์ปากขอ พยาธิ์เส้นด้าย พยาธิ์แส้ม้า พยาธิ์ไส้เดือน ฯลฯ ชื่อของสิ่งต่าง ๆ ที่ยกมาเป็นตัวอย่างข้างต้นนี้ ในภาษาไทยจะมีค� ำนามน� ำหน้าค� ำนาม ย่อยที่บอกประเภทประสมอยู่ด้วยทุกค� ำ ในหนังสือ สัตวาภิธาน ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) มีค� ำกล่าวถึงปลาไว้ในค� ำบอกประเภทหรือชนิดของนาม ค� ำที่น� ำหน้าค� ำเรียกปลาทั้งหลายนั้น นับเป็นส่วนของชื่อซึ่งจะปรากฏกับชื่อด้วย ถ้าไม่มีค� ำน� ำหน้าค� ำนามย่อยที่บอกประเภทผู้อ่านก็ต้องเดาเอา เองว่า ค� ำนั้น ๆ เป็นชื่อปลาเช่นเดียวกันหรือไม่ เช่น ค� ำในแม่ กน มีข้อความว่า ขึ้นกนต้นนามกร วารีจรมีนานา ปลาวาฬ ขึ้นในวา- รีโผนเผ่นเล่นชลธาร กระเบนก็เบนหนี ปลาอินทรี หนี ปลาวาฬ ยี่สนก็ลนลาน ลี้กายาในสาคร. ๕.๓ ค� ำน� ำหน้าค� ำเรียกพืช และส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ต้น เช่น ต้นเข็ม ต้นยาง ต้นข้าว ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นเต็ง ต้นสัก ต้นตึง ฯลฯ ดอก เช่น ดอกเข็ม ดอกรัก ดอกหงอนไก่ ดอกบานเช้า ดอกบานเย็น ดอกสัก ฯลฯ ผัก เช่น ผักชี ผักบุ้ง ผักกูด ผักแพว ผักกาด ผักหนาม ผักหนอก ฯลฯ หญ้า เช่น หญ้าแพรก หญ้าขน หญ้าปล้อง หญ้าไซ หญ้าน�้ ำค้าง หญ้าขจรจบ ฯลฯ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=