ปี-39-ฉบับที่-3

173 กาญจนา นาคสกุล วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ จึงมีค� ำว่า น่าเกลียดน่าชัง ที่แปลว่า น่ารัก ด้วยคติความเชื่อนี้ท� ำให้ไม่มีการพูดถึงเด็กที่เกิดใหม่นั้นว่า อ้วนท้วนดี สมบูรณ์ดี หรือสวยงามน่ารัก ฯลฯ ปฏิบัติการหลอกผีอีกประการหนึ่ง คือ การตั้งชื่อเด็ก ด้วยค� ำที่มีความหมายถึงสัตว์ต่าง ๆ เช่น หมา แมว เขียด กบ หนู เข้ กวาง นก เสือ กระต่าย กระแต ฯลฯ แสดงว่าผู้ที่เกิดมาใหม่ไม่ใช่คน แต่เป็นสัตว์ ผีไม่ต้องการสัตว์ เด็กคนนั้นจึงมีชีวิตรอดต่อไป นอกจากนี้ยังมีการตั้งชื่อเด็กด้วยค� ำที่ไม่ไพเราะหรือค� ำที่มีความหมายถึงความอัปลักษณ์น่ารังเกียจหรือ น่าเกลียด เช่น เบื๊อก บี้ เบี้ยว โอ่ง หัก ติ่ง ตี่ ตุ่ม หมึก และอื่น ๆ เมื่อเด็กโตจนแน่ใจว่ามีชีวิตรอด แล้ว จึงอาจจะตั้งชื่อใหม่ให้ไพเราะ มีความหมายดี และเป็นมงคลแก่ตัวเด็ก การตั้งชื่อจะพิจารณาใช้ตัว อักษรที่เป็นมงคล ให้ลาภ ให้อ� ำนาจ และเลือกตัวอักษรที่ไม่เป็นกาลกิณีกับตัวเด็กตามคัมภีร์ทักษาปกรณ์ โดยพิจารณาจากเวลาตกฟากของเด็ก เป็นต้น ชื่อที่ใช้เมื่อแรกเกิดมักใช้เป็นชื่อเล่นในภายหลัง สังเกต ได้ว่า ชื่อของคนไทยแต่เดิมเป็นค� ำไทยที่มีพยางค์เดียว เป็นค� ำเรียกสัตว์ต่าง ๆ เช่น ไก่ นก เม่น ช้าง หมี ค� ำบ่งบอกลักษณะทั่วไป เช่น อ้วน ขาว แดง ด� ำ เตี้ย ไว หรือล� ำดับการเกิดของเด็ก เช่น เอื้อย อ้าย อี่ อาม หนึ่ง สอง ต้น ต่อ ตาม ฯลฯ ภายหลังมีความนิยมใช้ชื่อคนต่างชาติ โดยเฉพาะชื่อชาวยุโรป หรืออเมริกัน เช่น แจ๊ก จอห์น แอน เจน เคน บอย ฟลุก จอนนี่ วินต้า บรุ๊ก เฟอร์บี้ ต่อมามี ความนิยมใช้ค� ำเรียกสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่เคยใช้เป็นชื่อมาเป็นชื่อเล่น เช่น รถเมล์ รถไฟ วุ้นเส้น ขนมจีน ต้มย� ำ ปั้นจั่น ก๋วยเตี๋ยว บุ้งกี๋ ผัดไทย ส้มต� ำ เส้นหมี่ ปูเค็ม ใต้ฝุ่น ชมพู่ ปูเปี้ยว ส้มโอ ฯลฯ หรือใช้ค� ำ ภาษาต่างประเทศ เช่น แพนเค้ก สปุ๊ตหนิก ไรเฟิ้ล ครีม อะตอม คุกกี้ โดนัท ฮะเก๋า ฯลฯ ในปัจจุบันมีความนิยมตั้งชื่อโดยใช้ตัวอักษรที่ค� ำนวณออกเป็นตัวเลข ซึ่งเมื่อรวมตัวเลขแล้ว ต้องได้จ� ำนวนที่เป็นมงคล ด้วยการค� ำนวณค่าของตัวอักษรดังกล่าวนี้ ท� ำให้มีการน� ำตัวพยัญชนะ ต่าง ๆ มาประกอบกันเป็นชื่อให้ได้ค่าเท่าที่ต้องการ ชื่อที่ตั้งขึ้นนั้นอาจเป็นค� ำที่มีความหมายหรือไม่มีความ หมายก็ได้ เช่น ชานัญชิดา พิชญ์ญาภัค ศุฆรรษตรา สรภัคสรณ์ พันพิสสา ชญานิศวร สุทธิ์ธนัชฉันท์ กัจนฐานียา ปันน์นลัท ปทิดากันย์ ปุญชรัศมิ์ กัญจนปกรณ์ กัญญ์ณรัณ จิณณ์ณัฏฐ์ จิรภัสสร ชญาณ์นันท์ ฐิภารินทร์ ณัฐฐ์ธเดชณ์ ณัฐฐาวีรนุท ดุษณียาภรณ์ ปัญญชัจจ์ ลัลล์ลลิล ศิริรัชภัทร อรพชรพรรณ อริญรดา ฯลฯ ๓. การใช้ค� ำน� ำหน้าชื่อบุคคล การเรียกชื่อบุคคลเป็นวัฒนธรรมที่ต้องเรียนรู้และใช้ให้ถูกต้องในแต่ละวัฒนธรรม ในสังคมไทย การเรียกชื่อบุคคลโดยไม่มีค� ำน� ำหน้าชื่อจะใช้ได้เฉพาะเมื่อผู้ใหญ่เรียกเด็ก เจ้านายเรียกคนที่เป็นผู้รับใช้ หรือบริวารของตน คนที่สนิทกัน และมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกันเรียกกันเท่านั้น การเรียกชื่อบุคคล โดยไม่มีค� ำน� ำหน้าชื่อถือเป็นมารยาททราม แม้คนที่เด็กกว่าหรือมีฐานะต�่ ำต้อยกว่า ในสังคมไทยก็ยังมี

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=