ปี-39-ฉบับที่-3
ค� ำน� ำหน้าชื่ อบุคคล-ค� ำน� ำหน้าค� ำนามย่อย 172 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 ค� ำที่มีความหมายถึงสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวมานี้เป็นค� ำซึ่งในภาษาไทยจัดเป็น ค� ำนามประเภท สามานยนาม และในต� ำราบางเล่ม เรียกว่า นามสามัญหรือค� ำนามสามัญ สามานยนามหรือนาม สามัญบางค� ำอาจมีค� ำเรียกชื่อที่แยกย่อยออกไปของค� ำนั้น ๆ อีก เช่น สามานยนามว่า นก มีชื่อย่อยเป็น นกเขา นกกระจอก นกแก้ว นกเอี้ยง นกกาบบัว นกเป็ดน�้ ำ ฯลฯ สามานยนามว่า งู มีชื่อย่อยเป็น งูเขียว งูแมวเซา งูดิน งูสามเหลี่ยม งูหลาม งูจงอาง ฯลฯ ชื่อที่เรียกย่อยลงไปนั้นก็ยังคงจัดเป็นสามานยนาม วิสามานยนาม คือ ค� ำนามที่เป็นชื่อเฉพาะของบุคคลหนึ่ง ชื่อของสัตว์ตัวหนึ่ง สิ่งของชิ้นหนึ่ง หรือสิ่งหนึ่ง ชื่อเฉพาะของบุคคลเป็นวิสามานยนามที่บ่งบอกเฉพาะบุคคลว่าหมายถึงผู้ใด ชัดเจนอยู่แล้ว แต่ในวัฒนธรรมไทย การใช้ชื่อบุคคลโดยล� ำพังมักจะถือว่า ไม่สุภาพ ไม่เหมาะสม หรือไม่ให้เกียรติ เจ้าของชื่อ ต้องมีค� ำน� ำหน้าชื่อที่เหมาะสมจึงจะเป็นการใช้ภาษาที่ถูกต้อง เช่น นาย วิเชียร วิจิตรกุล นาง รัชนีกร บุญประสาท นางสาว กัลยาณี ประภัสสรสวัสดิ์ แม้ชื่อของเด็กชายเด็กหญิงก็มีค� ำน� ำหน้า เช่น เด็กชาย นคบดี นัฎนารถ เด็กหญิง วิลาสินี ทิพยาพงศ์ เมื่อผู้ใหญ่เอ่ยชื่อเด็กในลักษณะที่ไม่เป็น ทางการจึงจะละไม่ใช้ค� ำน� ำหน้าชื่อ ชื่อของสัตว์ ชื่อของสถานที่ หรือชื่อของสิ่งของบางอย่างที่เป็น ชื่อเฉพาะก็จ� ำเป็นต้องใช้ค� ำน� ำหน้าค� ำนามย่อยซึ่งบ่งบอกว่าสิ่งนั้น ๆ คืออะไร เช่น ม้า สีหมอก พลาย มงคล ถนน ราชด� ำเนิน ประตู วิเศษไชยศรี แม่น�้ ำ เจ้าพระยา คลอง มอญ ฯลฯ บทความนี้เสนอเรื่องการใช้ค� ำนามที่เป็น ค� ำน� ำหน้าชื่อบุคคล ในภาษาไทย ส่วนค� ำนามที่น� ำหน้า ชื่อสัตว์ สิ่งของ อาคารสถานที่ ชื่อทางภูมิศาสตร์ เป็นค� ำบอกประเภทของค� ำนาม จะเรียกว่า ค� ำน� ำหน้า ค� ำนามย่อย เช่น ค� ำว่า ด� ำ แดง เขียว เหลือง ฉีด ทา ดม จิบ ต้ม ฯลฯ ที่ตามหลังค� ำว่า ยา เป็น ยาด� ำ ยาแดง ยาเขียว ยาเหลือง ยาฉีด ยาทา ยาดม ยาจิบ ยาต้ม ฯลฯ เป็นค� ำนามย่อยที่บอกว่า ยานั้นเป็นยาอะไร ค� ำว่า ยา ที่ประกอบกับค� ำขยายดังกล่าว เป็นค� ำบอกประเภทของค� ำนามหรือค� ำน� ำหน้า ค� ำนามย่อย ค� ำน� ำหน้าค� ำนามย่อยจะต้องรวมกับค� ำนามย่อยซึ่งเป็นชื่อต่าง ๆ นั้น ชื่อของสิ่งต่าง ๆ นั้นยัง คงเป็นค� ำสามานยนาม ไม่ใช่วิสามานยนาม ๒. ชื่อของบุคคล ชื่อของบุคคลเป็นค� ำที่สมมุติขึ้นให้เป็นค� ำประจ� ำตัวของบุคคล เพื่อให้หมายรู้กันว่าเป็นผู้ใด ชื่อของบุคคลแต่ละคนเป็น วิสามานยนาม ในสังคมไทยเดิม ทารกแรกเกิดจะเสียชีวิตกันมาก เพราะ ความรู้ทางการแพทย์ยังไม่เจริญ ทั้งยังมีความเชื่อว่าเด็กที่เกิดมานั้นมาจากผีที่ส่งมาให้ทดลองดูก่อน ถ้าเด็กมีหน้าตาน่าเกลียด ขี้โรค ผอมแห้ง ผีก็ไม่ต้องการเด็กนั้นไปเป็นพวก เด็กก็จะมีชีวิตรอด ผีต้องการ แต่เด็กที่สวย แข็งแรง อ้วนท้วนสมบูรณ์ ถ้าผีเอาไปก็หมายความว่าเด็กนั้นจะตาย จึงมีการใช้ภาษาหลอก ผีด้วยการบอกว่าเด็กที่เกิดใหม่นั้น “น่าเกลียดน่าชัง” ภาษาที่ใช้ในการกล่าวถึงลักษณะของเด็กที่เกิดใหม่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=