ปี-39-ฉบับที่-3
The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 ค� ำน� ำหน้าชื่อบุคคล-ค� ำน� ำหน้าค� ำนามย่อย * กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิต ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน * ปรับปรุงจากการบรรยายในการประชุมส� ำนักศิลปกรรม เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ภาษาเป็นเครื่องมือส� ำคัญที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารกัน ท� ำความเข้าใจกัน ภาษาท� ำให้มนุษย์ สามารถด� ำรงชีวิต เรียนรู้ศิลปะวิทยาการ เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ และพัฒนาสังคมมนุษย์จนก้าวหน้าถึงปัจจุบัน ภาษาที่มนุษย์ในแต่ละสังคมใช้ประกอบด้วยถ้อยค� ำที่มีเสียงและความหมายเป็นส่วนประกอบส� ำคัญ ถ้อยค� ำนั้นบ่งบอกถึงสิ่งต่าง ๆ ทั้งที่เป็นเรื่องชีวิต ความเป็นอยู่ การท� ำมาหากิน สิ่งแวดล้อม ที่อยู่อาศัย ประสบการณ์ ความสุข ความทุกข์ และทุกสิ่งที่เกี่ยวพันกับชีวิตของผู้ที่เป็นเจ้าของภาษานั้น ๆ ภาษา ของคนกลุ่มใดย่อมมีความพอเพียงสมบูรณ์ที่จะใช้สื่อสารกันส� ำหรับคนในกลุ่มนั้น การใช้ภาษาของคนใน ทุกสังคมจะสะท้อนความคิด ความรู้สึก ความคาดหมาย จินตนาการ และสิ่งอื่น ๆ ที่เกี่ยวพันและเกี่ยวข้อง กับชีวิต รวมทั้งประสบการณ์ของผู้ที่เป็นเจ้าของภาษานั้น สิ่งที่มีความผูกพันอย่างยิ่งสิ่งหนึ่งกับภาษา และการใช้ภาษาก็คือ วัฒนธรรม ที่ได้สั่งสมกันมาตลอดเวลาแห่งประวัติศาสตร์ของคนในสังคมนั้น วัฒนธรรมการใช้ภาษามีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิต ประสบการณ์ ค่านิยม ความเชื่อ และสิ่งที่บรรพบุรุษ รุ่นแล้วรุ่นเล่าสร้างและสะสมไว้ ในสังคมไทยมีข้อก� ำหนดในการใช้ภาษาที่เป็นไปตามวัฒนธรรมไทย หลายประการ เช่น การตั้งชื่อบุคคล การเรียกชื่อและการกล่าวขาน การใช้ค� ำสรรพนาม การใช้ค� ำสุภาพ บทคัดย่อ การเรียกชื่อบุคคลในสังคมไทย ต้องใช้ค� ำน� ำหน้าชื่อที่เหมาะกับสถานะของบุคคลนั้น หรือเหมาะกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้นกับผู้เรียกชื่อ การใช้ค� ำน� ำหน้าชื่อควบคู่กับชื่อเป็น มารยาทการใช้ภาษาในสังคมไทยที่ไม่อาจละเว้นได้ ชื่อของนก ปลา งู ต้นไม้ ดอกไม้หลายชนิดและ ชื่อสิ่งอื่น ๆ บางอย่างก็ต้องใช้ค� ำน� ำหน้าค� ำย่อยบอกชื่อของนามนั้น ๆ ค� ำน� ำหน้าค� ำนามย่อยบอก ประเภทของนามเป็นส่วนประกอบของชื่อสัตว์ ต้นไม้ หรือสิ่งนั้น ๆ จึงเป็นสิ่งส� ำคัญที่ไม่สามารถ ละเว้นได้เช่นเดียวกัน ค� ำส� ำคัญ : ค� ำน� ำหน้าชื่อ, ค� ำน� ำหน้าค� ำนามย่อย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=