ปี-39-ฉบับที่-3
157 วินั ย ภู่ระหงษ์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ การใช้ค� ำเสียงสามัญเกือบทั้งหมดในบาทแรก ท� ำให้เกิดลีลาด� ำเนินไปอย่างช้า ๆ ความหมายของ ค� ำท� ำให้นึกเห็นภาพกิริยาอาการที่นุ่มนวล ในบาทที่ ๒ การเปลี่ยนระดับเสียงของค� ำ เลื่อนขึ้นสูงในแต่ละ วรรค จังหวะเริ่มทวีความเร็วขึ้น การใช้ค� ำตายเสียงสั้นที่มีสัมผัสต่อเนื่อง คือ ฉิบ กับ พริบ เป็นจังหวะเร็ว กระชับกระชั้น เป็นลีลาต่อเนื่องที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว และหยุดลงในทันที นอกจากนี้ ค� ำ ถีบ และ ทะยาน ช่วยให้รู้สึกว่าการเป็นไปอย่างรวดเร็วนั้นมีก� ำลังแรงด้วย (๔) อ้าอรุณแอร่มระเรื่อรุจี ประดุจมโนภิรมย์รตี ณแรกรัก (มัทนพาธา) เสียงหนักเบา สั้นยาวสลับกันสม�่ ำเสมอโดยตลอด เป็นเสียงดนตรีที่บรรเลงสั้นที่สุดสลับกับการ หยุดเป็นจังหวะต่อเนื่องกัน ส่วนลักษณะของวรรณคดีในดนตรี ได้แก่ เสียงดนตรีมีความหมาย เสียงที่ประสานด� ำเนินไป อย่างต่อเนื่องมีอ� ำนาจต่ออารมณ์ และความนึกเป็นถ้อยค� ำ จินตภาพ หรือเรื่องราว ดนตรีจึงบรรยายเป็น ถ้อยค� ำ หรือเล่าเรื่องอย่างวรรณคดีได้ ตัวอย่างนิทานค� ำกลอนเรื่องพระอภัยมณี เพลงปี่ที่พระอภัยมณีเป่า แต่ละครั้ง กระแสเสียง และลีลาบอกความหมายเป็นถ้อยค� ำที่เข้าใจได้ เช่น เพลงปี่ที่เป่าเรียกนางละเวง เมื่อพลัดกับทัพลังกา ... ให้วาบวับแว่วเพลงวังเวงหวาน วิเวกโหวยโหยไห้อาลัยลาน โอ้ดึกป่านนี้แล้วแก้วกลอยใจ แม่วัณฬานารีศรีสวัสดิ์ จะพรากพลัดไพร่พลไปหนไหน น�้ ำค้างย้อยพรอยพรมพนมไพร จะหนาวในทรวงน้องจนหมองนวล โอ้ยามสามยามนี้เจ้าพี่เอ๋ย พี่เคยเกยกอดน้องประคองสงวน แม่ยอดหญิงมิ่งขวัญจะรัญจวน เสียดายนวลเนื้ออุ่นละมุนทรวง เคยไสยาสน์อาสน์อ่อนบรรจถรณ์แท่น มาเดินแดนดงรังใช่วังหลวง ขอเชิญแก้วแววตาสุดาดวง มาชมพวงมาลีด้วยพี่ยา ล้วนชื่นแช่มแย้มบานทุกก้านกิ่ง ยิ่งคิดยิ่งหวนหอมบนจอมผา พี่อยู่เดียวเปลี่ยวใจนัยนา แม่วัณฬาหลบแฝงอยู่แห่งไร จนดาวเคลื่อนเดือนดับยิ่งลับน้อง เห็นแต่ห้องหิมวาพฤกษาไสว มาหาพี่นี่หน่อยเถิดกลอยใจ จะกล่อมให้บรรทมได้ชมเชย ถึงยากไร้ไม่มีที่พระแท่น จะกางกอดทอดแขนแทนเขนย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=