ปี-39-ฉบับที่-3

155 วินั ย ภู่ระหงษ์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ ประการแรก ดนตรีและวรรณคดีเป็นศิลปะที่เกี่ยวกับเสียง ดนตรีเป็นเสียงที่เรียบเรียงขึ้นอย่าง เป็นระเบียบ เสียงเหล่านี้มีลักษณะต่าง ๆ มีระดับสูงต�่ ำ มีความเข้มหนักเบา มีระยะสั้นยาว และสีสันของ น�้ ำเสียง ซึ่งประสานสอดคล้องกันเป็นท� ำนองลีลา และมีจังหวะผสาน วรรณคดีเป็นถ้อยค� ำที่เรียบเรียงขึ้นอย่างเป็นระเบียบด้วยปริมาณระดับเสียงสูงต�่ ำ หนักเบา สั้นยาว ประสานสอดคล้องกันในลักษณะที่ก� ำหนดไว้เป็นแบบรูป โดยที่ค� ำคือเสียง การเรียบเรียงถ้อยค� ำในวรรณคดีก็คือการเรียบเรียงเสียง ทั้งนี้จะเห็นได้จาก วรรณคดีไทยแต่เดิมถ่ายทอดกันด้วยปาก เสียงจึงเป็นเครื่องมือส� ำคัญเช่นเดียวกับดนตรี ประการที่ ๒ ดนตรีและวรรณคดีเป็นศิลปะที่มีเงื่อนไขอยู่ในกรอบของเวลา การฟังดนตรีต้อง ฟังตั้งแต่ต้นจนจบ การฟังเพียงเสียงแรกของดนตรีย่อมไม่อาจรับรสของดนตรีได้ เช่นเดียวกัน การอ่าน วรรณคดีต้องอ่านตั้งแต่ต้นจนจบ เพราะมิฉะนั้นก็ไม่สามารถรู้เรื่องราวของวรรณคดีนั้น ๆ ได้ ประการที่ ๓ วรรณคดีและดนตรีต่างมีลักษณะของกันและกันผสานอยู่ ค� ำในวรรณคดีมีเสียงสูง ต�่ ำ หนักเบา สั้นยาวมีจังหวะ ซึ่งเป็นลักษณะของเสียงดนตรี วรรณคดีจึงสามารถใช้ค� ำเลียนเสียงดนตรี ได้โดยง่าย เช่น ต้อยตะริดติ๊ดตี่เจ้าพี่เอ๋ย จะละเลยเร่ร่อนไปนอนไหน แออีออยสร้อยฟ้าสุมาลัย แม้นเด็ดได้แล้วไม่ร้างให้ห่างเชย ฉุยฉายชื่นรื่นรวยระทวยทอด จะกล่อมกอดกว่าจะหลับกับเขนย หนาวน�้ ำค้างพร่างพรมลมร� ำเพย ใครจะเชยโฉมน้องประคองนวล เสนาะดังวังเวงเป็นเพลงพลอด เสียงฉอดฉอดชดช้อยละห้อยหวน วิเวกแว่วแจ้วในใจรัญจวน เป็นความชวนประโลมโฉมวัณฬา (พระอภัยมณี) การใช้ค� ำซึ่งมีคุณภาพในทางเสียง และความหมายประกอบเข้าด้วยกันด้วยกลวิธีต่าง ๆ ใน วรรณคดี ท� ำให้เห็นลักษณะต่าง ๆ ของดนตรี เช่น (๑) ส� ำรวลรื่นคลื่นราบดังปราบเรี่ยม ทั้งน�้ ำเปี่ยมป่าแสมข้างแควขวา ดาวกระจายพรายพร่างกลางนภา แสงคงคาเต็มพราวราวกับพลอย เห็นปลาว่ายกายสล้างกระจ่างแจ่ม แลแอร่มเรืองรุ่งจับกุ้งฝอย เป็นหมู่หมู่ฟูฟ่องขึ้นล่องลอย ตัวน้อยน้อยนางมังกงขมงโกรย ชื่นอารมณ์ชมปลาเวลาดึก หวนร� ำลึกแล้วเสียดายไม่วายโหย แม้นเห็นปลาวารินจะดิ้นโดย ทั้งลมโชยเฉื่อยชื่นระรื่นเย็น (นิราศเมืองเพชร)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=