ปี-39-ฉบับที่-3

153 วินั ย ภู่ระหงษ์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ พระปรัศว์ซ้ายขวาอ่าโถง ท้องพระโรงรจนาหน้าหลัง พระแท่นแก้วกุดั่นบัลลังก์ กางกั้งเศวตฉัตรอยู่อัตรา บรรจถรณ์ที่ไสยาสน์อาสน์สุวรรณ มีฉากแก้วแพรวพรรณคั่นฝา ที่เสวยที่สรงคงคา ที่นั่งเย็นอยู่หน้ามนเทียรทอง พรรณไม้ดอกลูกปลูกกระถาง ไว้หว่างอ่างแก้วเป็นแถวถ้อง ราบรื่นพื้นชาลาดังหน้ากลอง อิฐทองปูลาดสะอาดตา มีทิมที่ล้อมวงองครักษ์ นอนกองเกณฑ์พิทักษ์รักษา โรงแสงโรงภูษามาลา เรียงเรียบรัถยาหน้าพระลาน โรงเครื่องเนื่องกันเป็นหลั่นลด โรงม้าโรงรถคชสาร ติกาหรังส� ำหรับพระกุมาร อยู่นอกปราการก� ำแพงวัง ประตูลักลงท่าชลาลัย มีโรงเรือเรียงไปริมฝั่ง เรือศรีสุวรรณบัลลังก์ เรือแข่งเรือที่นั่งตั้งบนม้า เรือกิ่งเอกชัยใส่บุษบก งามกระหนกลวดลายท้ายหน้า พนักงานต� ำรวจใหญ่ไตรตรา เกณฑ์ไพร่ให้รักษานาวี ต� ำหนักแพแลล�้ ำอ� ำไพ มุขลดพาไลหลังคาสี ช่อฟ้าหน้าบันปราลี ล้วนมณีเนาวรัตน์ชัชวาล ข้างหน้าต� ำหนักน�้ ำนั้นท� ำกรง ส� ำหรับราชสุริย์วงศ์สรงสนาน เบื้องบนบังสาดดาดเพดาน ผูกม่านมู่ลี่ลายทอง ฤดูเดือนสิบเอ็ดเสด็จลง ลอยกระทงทรงประทีปเป็นแถวถ้อง ทอดทุ่นท้ายน�้ ำประจ� ำซอง ตั้งกองล้อมวงพระทรงธรรม์ อันถนนหนทางท้องฉนวน ศิลาลายลาดล้วนเลือกสรร มีตึกแถวทิมรอบขอบคัน เรือนสนมก� ำนัลเป็นหลั่นมา จิตรกรรมกับวรรณคดีมีความสอดคล้องกันอย่างหนึ่งคือ ต่างมีลักษณะของกันและกันผสานอยู่ ซึ่งกล่าวได้ว่า จิตรกรรมเล่าเรื่องด้วยการวาดภาพ และวรรณคดีสร้างภาพด้วยการเล่าเรื่อง ความสอดคล้องของจิตรกรรมกับวรรณคดีดังกล่าวนี้ ไซมอนิดิส (Simonides) (๕๕๖-๔๖๘ ก่อนคริสต์ศักราช) กวีลิริคของกรีกได้กล่าวเปรียบเทียบตามที่พลูทาร์ก (Plutarch) นักเขียนชีวประวัติชาว กรีก (ประมาณ ค.ศ. ๔๖-หลัง ค.ศ. ๑๑๙) ได้น� ำมากล่าวว่า “จิตรกรรมเป็นกวีนิพนธ์เงียบและกวีนิพนธ์เป็น

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=