ปี-39-ฉบับที่-3
ความเกี่ ยวข้องกั นของศิ ลปะประเภทรมยศิ ลป์ 152 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 อีกแห่งหนึ่งใน ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์ชูชก ตอนกล่าวถึงชูชกซ่อมแซมกระท่อมที่อาศัย ก่อนจะเดินทางไปหาพระเวสสันดร เพื่อขอพระราชทานพระโอรสและพระธิดา ดังนี้ “โส เคหทุพฺพลฏานํ ถิรํ กตฺวา ส่วนออเฒ่าพฤฒาทลิททก ให้อิดออดวิตกพะว้าพะวัง ด้วย อมิตตดาสิจะยังตัวสิจะไป ธชีมิไว้ใจด้วยเคหาเก่าคร�่ ำคร�่ ำชวนโซเซ อ่อนโอเอ้เอียงโอนเอน กลัวว่าจะคร�่ ำ เครนครืนโครมลง โย้ให้ตรงกรานไม้ยัน ค�้ ำจดจันจุนจ้องไว้ เกลากลอนใส่ซีกครุคระ มุงจะจะจากปรุโปร่ง แลตะละโล่งลอดเห็นฟ้า ขึ้นหลังคาครอบจากหลบ โก้งโค้งกบกดซีกกรอบ ผ่าไม้ครอบคร่อมอกไก่ ไม้ข้างควายแขวะเป็นรู สอดเสียบหนูแน่นขันขัด ปั้มลมดัดเดาะหักห้อย กบทูย้อยแยกแครกคราก จั่วจุจากจัดห่าง ๆ ฝาหน้าต่างแต่งให้มิด ล่องหลวมปิดปกซี่ฟาก ตงรอดครากเครียดรารัด ตอม่อขัดค�้ ำขึงขัง ทฺวารํ ปฏิสงฺขริตฺวา จักตอกมาขมวดเป็นเกลียว ผูกแน่นเหนียวหน่วงประตู ห่วงหิ้วชูฉวยชักชิด ปิดมืดมิด ไม่เห็นห่าง ใส่กลอนกลางกลัดเหน็บแนม ลิ่มเสียดแซมซ�้ ำให้ชิด ไม่เคยปิดอย่าพักเปิด เถ้าถีบเถิดถูกไม่ลึ้น บันไดลงขึ้นขันชะเนาะมั่นเหมาะเจาะจ้องจนซาน ท� ำลนลานโน่นนี่เสร็จ กอบก� ำสะเก็ดกวาดปัดแผ้ว” ความเกี่ยวข้องกันของศิลปะอีกลักษณะหนึ่งคือ การใช้วิธีการของศิลปะอีกประเภทหนึ่ง กล่าวเฉพาะจิตรกรรมกับวรรณคดี นอกจากจิตรกรรมใช้เนื้อหาจากวรรณคดีมาสร้างเป็นรูปแล้ว ยังใช้วิธี การของวรรณคดีอีกด้วย ทั้งนี้จะเห็นได้จากภาพที่จิตรกรวาด ที่เหมาะที่จะบรรยายเรื่องราวให้สอดคล้อง กับการคลี่คลายของเวลาตามลักษณะของวรรณคดี ตัวอย่างภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่อง รามเกียรติ์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภาพในแต่ละห้องแสดง (หรือบรรยาย) ให้เห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องใน ช่วงหนึ่ง ๆ ของเรื่องรามเกียรติ์ เช่น ภาพห้องที่ ๑ พระชนกฤษีท� ำพิธีบวงสรวง ไถดินพบผอบที่ใส่นางสีดา ฝังไว้ แล้วลาผนวช เสด็จกลับเมืองมิถิลาพร้อมด้วยนางสีดา (ภาพที่ ๓๐) ในท� ำนองเดียวกัน กล่าวได้ว่า วรรณคดีพยายามใช้วิธีการของจิตรกรรม คือ บรรยายภาพหรือ เหตุการณ์ต่าง ๆ พร้อมกัน เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจหรือเห็นว่าภาพหรือเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน ตัวอย่าง บทละครเรื่อง อิเหนา พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยที่บรรยายสภาพ บ้านเมืองและความเป็นไปของเมืองทั้งสี่ คือ กุเรปัน ดาหา กาหลัง และสิงหัดส่าหรี พร้อมกันไป ดังนี้ อันสี่ธานีราชฐาน กว้างใหญ่ไพศาลนักหนา เทเวศร์นฤมิตด้วยฤทธา สนุกดั่งเมืองฟ้าสุราลัย มีปราสาททั้งสามตามฤดู เสด็จอยู่โดยจินดาอัชฌาสัย หลังคาฝาผนังนอกใน แล้วไปด้วยโมราศิลาทอง ภูเขาเงินรองฐานมีมารแบก ยอดแทรกยอดใหญ่ไม้สิบสอง แก้วไพฑูรย์ท� ำเป็นล� ำยอง บัญชรช่องชัชวาลบานบัง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=