ปี-39-ฉบับที่-3
5 วิทย์ พิ ณคั นเงิ น วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ สุขร่วมกันในสังคม เงื่อนไขและกติกาก็นับเนื่องมาจากการประพฤติปฏิบัติอย่างเดียวกัน ประกอบการ งานประสานประโยชน์กัน และมีสิ่งยึดเหนี่ยวอย่างเดียวกัน เช่นขนบประเพณีต่าง ๆ (ประเพณีแยกออก เป็นขนบประเพณี ธรรมเนียมประเพณี จารีตประเพณี) มีพื้นฐานอย่างเดียวกันมาก่อนแล้วสืบทอดต่อ กันมาช้านาน แม้ว่าจะค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่ก็ยังรักษารูปแบบดั้งเดิมไว้ได้ สภาพทางสังคมจึง มีสภาพเหมือนสื่อกลางประสานความสามัคคีกลมเกลียวกันในกลุ่ม เช่น คนไทยยึดมั่นในการประพฤติดี ประพฤติชอบ ยังคงยอมรับในความเคารพชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หรือการร่วมบุญร่วมกุศลในการ บ� ำเพ็ญประโยชน์ร่วมกันต่อหมู่ชนที่ต้องตกระก� ำล� ำบาก หรือต่อศาสนา การประกอบพิธีสมรสตาม แบบแผนที่นับถือกันต่อ ๆ มา ตลอดจนจิตรกรรมทางศาสนาและสังคม ประติมากรรมแบบต่าง ๆ ตลอด จนสถาปัตยกรรมก็เป็นไปตามลักษณะของสังคม (บ้านชาวเหนือ มีเรือนน�้ ำปิดมิดชิด บ้านชาวภาคกลาง โปร่งมาก ท� ำใต้ถุนสูงให้สามารถใช้งานได้ด้วย) ศิลปะการท� ำเครื่องประดับ เครื่องแต่งกาย ก็ออกจะ แตกต่างกันไปเป็นอย่างมาก แต่เท่าที่ท� ำกันในปัจจุบันนี้ มีลักษณะเป็นสากลเพื่อให้ทุกชาติทุกภาษา ใช้ได้ด้วย จึงเห็นได้ว่าสภาพทางสังคมวัฒนธรรมมีอิทธิพลช่วยสร้างสรรค์ให้ศิลปะมีลักษณะพิเศษเป็นของ ตนเองโดยเฉพาะอย่างแท้จริง อิทธิพลทางวัสดุอุปกรณ์ วัสดุอุปกรณ์ประกอบศิลปะ หมายถึงสรรพสิ่ง ทรัพยากรต่าง ๆ (มีค� ำ ใหม่ที่ใช้แทนวัสดุอุปกรณ์คือ “ทัศนธาตุ”) ที่มีอยู่ตามธรรมชาติหรือประดิษฐ์ขึ้นใช้ในท้องถิ่นแต่ละแห่ง แต่ละประเทศ จนสามารถน� ำเอามาประกอบเป็นผลงานศิลปะได้ ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้วแต่ละท้องถิ่น ประเทศ ย่อมมีทรัพยากรประจ� ำอยู่ในท้องถิ่นของตนเองแต่ละแห่งแตกต่างกันไป ช่างหรือศิลปินจึงใช้สติ ปัญญาน� ำเอามาใช้ประกอบเป็นผลงานศิลปะขึ้น ดังนั้นจึงมีสิ่งที่แสดงให้เห็นความแตกต่างกันดังกล่าวแล้ว เช่น ในประเทศที่มีไม้มากก็จะใช้ไม้เป็นสิ่งส� ำคัญทั้งในงานก่อสร้างและอื่น ๆ ส่วนในประเทศที่มีหินมากก็ จะใช้หินเป็นสิ่งก่อสร้างและท� ำอย่างอื่น ๆ ด้วย ดังนั้นในการสร้างสรรค์งานศิลปะจึงมักจะใช้แนวคิดค� ำนึง ถึงวัสดุอุปกรณ์ในท้องถิ่นเป็นหลักก่อน สิ่งสังเกตได้ง่ายเช่นในประเทศไทย หรือประเทศที่อยู่ในเขตอบอุ่น จะมีไม้ไผ่มาก ก็จะมีการน� ำเอาไม้ไผ่มาท� ำสิ่งของเครื่องใช้ แต่ในประเทศแถบยุโรปไม่มีไม้ไผ่ จึงไม่มีสิ่งของ เครื่องใช้ที่ท� ำด้วยไม้ไผ่ ส่วนมากที่จะน� ำเอาวัสดุอุปกรณ์จากแหล่งอื่น ๆ เข้ามาประกอบก็จะมีอยู่บ้างแต่ ก็น้อยกว่าปริมาณของวัสดุที่มีอยู่เองในท้องถิ่น เพราะอาจจะเป็นของหายาก ไม่สะดวกแก่การสรรหาและ ผู้ท� ำเองอาจไม่เข้าใจถึงธรรมชาติของวัสดุอุปกรณ์ท้องถิ่นก็ได้ ดังนั้นการประกอบผลงานศิลปะโดยใช้วัสดุ อุปกรณ์แตกต่างกันออกไป นับตั้งแต่วิธีการประดิษฐ์ ลักษณะรูปแบบ กรรมวิธีหรือกระบวนการ จึงเห็น ได้ว่าอิทธิพลทางด้านวัสดุอุปกรณ์ท� ำให้ผลงานศิลปะแตกต่างกันออกไป ในขณะเดียวกันก็สามารถควบคุม ลักษณะรูปแบบของผลงานศิลปะในท้องถิ่นเดียวกันให้เป็นแนวเดียวกันได้อีกด้วย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=