ปี-39-ฉบับที่-3

ความเกี่ ยวข้องกั นของศิ ลปะประเภทรมยศิ ลป์ 148 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 ความเกี่ยวข้องกันของวรรณคดีกับสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม อีกลักษณะหนึ่ง คือ การประสานกัน วรรณคดีประสานเนื้อหาของสถาปัตยกรรม ประติมากรรม หรือจิตรกรรมเข้าในเรื่อง วรรณคดี เพื่อประโยชน์ในการด� ำเนินเรื่อง เพื่อเสริมเรื่องให้สมบูรณ์ และเพื่อแสดงความนึกคิดบางประการ ใน อนิรุทธค� ำฉันท์ ตอนกล่าวถึงพระอนิรุทธ์ประพาสไพรและประทับแรมในป่า พระเทพารักษ์ อุ้มพระอนิรุทธ์ไปสมนางอุษา ธิดาท้าวกรุงพาณ จวนรุ่งสางพระเทพารักษ์มาอุ้มพระอนิรุทธ์ซึ่งก� ำลัง หลับกลับไปยังราชรถที่ประทับ พระอนิรุทธ์ตื่นบรรทมก็วิโยคโศกเศร้าถึงนาง แต่ต้องจ� ำพระทัยยกทัพกลับ ฝ่ายนางอุษามีความเศร้าโศกถึงบุรุษที่มาในยามราตรี นางพิจิตรเลขาผู้เป็นพี่เลี้ยงได้ปลอบโยนถามเรื่องราว นางอุษาจึงเล่าความให้ฟัง นางพิจิตรเลขาทูลว่าเป็นความฝัน นางอุษาว่ามิใช่ฝันเพราะ ผิวฝันบร้างช�้ ำ ชรลื้นแก้มอันย�้ ำยวน ทราบคนธอบอวน รสเศียรบหายหอม นางอุษาขอให้นางพิจิตรเลขาวาดรูปเทพและท้าวต่าง ๆ เพื่อจะเหมือนกับบุรุษนั้น นางพิจิตร เลขาวาดรูปเทพท้าว ยักษ์ คนธรรพ์ กินนรต่าง ๆ นางอุษาก็เมิน บมิดู นางพิจิตรเลขา จึงวาดนแน่งโฉม อนิรุทธราชา นางเอาขดานมา บันทับทรวงก็ไห้โหย อ้านี้แลรูปท้าว อันมาชมมาชายโชย จ� ำนองกระอืดโอย ทุกขทรวงรลวงกาม แล้วนางก็บอกนางพิจิตรเลขาว่า ผิวพี่เอ็นดูน้อง อันเชิญช่วยมาดับความ ร้อนเร่าคือเพลิงลาม ลันลุงแลก� ำเดาดง นางพิจิตรเลขาจึงไปยังเมืองทวาราวดี ร่ายมนตร์สะกดคนในปราสาทให้หลับ แล้วอุ้มพระอนิรุทธ์ มาให้อยู่ร่วมกับนางอุษา ใน สมุทรโฆษค� ำฉันท์ มีจิตรกรรมแทรกประสานอยู่ในเนื้อเรื่อง ๒ แห่ง แห่งแรกตอนกล่าวถึง พระสมุทรโฆษเสด็จไปวังช้าง และประทับแรมในป่า พระเทพารักษ์อุ้มพระสมุทรโฆษไปสมนางพินทุมดีธิดา

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=