ปี-39-ฉบับที่-3

ความเกี่ ยวข้องกั นของศิ ลปะประเภทรมยศิ ลป์ 146 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 ในทางกลับกัน ทั้งประติมากรรม จิตรกรรม และสถาปัตยกรรมได้ใช้เนื้อหาจากวรรณคดีสร้าง เป็นรูปขึ้น ตัวอย่างประติมากรรม เช่น ภาพศิลาจ� ำหลักเรื่องรามเกียรติ์ที่ประดับอยู่ที่พนักด้านนอกรอบ พระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ภาพจ� ำหลักศิลาเรื่องรามเกียรติ์นี้น� ำเนื้อหามาจากบทละคร เรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ภาพที่ ๒๒) อีกตัวอย่างหนึ่ง หากจะถือว่าค� ำเล่าขานเป็นวรรณคดีมุขปาฐะ ค� ำเล่าขานถึงวีรกรรมของท้าว สุรนารี คุณหญิงภริยาเจ้าเมืองนครราชสีมาซึ่งฐานะนี้อาจท� ำให้นึกถึงบางสิ่งบางอย่างที่เกี่ยวข้อง เช่น รูปลักษณ์ คุณสมบัติเหล่านี้น่าจะเป็นเนื้อหาที่ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี ไปสร้างเป็นประติมากรรม รูปท้าวสุรนารี (ภาพที่ ๒๓) ซึ่งอาจารย์ชะลูด นิ่มเสมอ ได้ “แปลความหมาย” ไว้ในค� ำบรรยายถึงผลงานเอก ของอาจารย์ศิลป (ในการสัมมนาในวาระครบ ๑๐๐ ปี ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวันที่ ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕) ดังนี้ “ท่าทางที่ยืนอย่างเรียบ ๆ ตามลักษณะกุลสตรีไทย มือหนึ่งเท้าสะเอว แสดงความไว้ตัว ความสูงศักดิ์ อีกมือหนึ่งถือดาบที่ซ่อนคมอยู่ในฝัก ปลายปักลงพื้น แสดงถึงอ� ำนาจเด็ดขาด และอ� ำนาจ นั้นได้ใช้ไปแล้วจนได้รับชัยชนะ ใบหน้าที่ก้มเล็กน้อยและสายตาที่ทอดต�่ ำลง แสดงถึงสถานะที่สูงกว่า คู่กันไปกับความเมตตาปรานี ที่ท่านมีต่อชาวเมืองที่ร่วมเป็นร่วมตายกันมา แต่ในความรักความเมตตา นั้นยังมีอ� ำนาจมีวินัยแฝงอยู่ รูปหน้าที่งดงามตามแบบสตรีไทยท้องถิ่น โหนกแก้มสูง ริมฝีปากไม่บางจน เกินไป ขากรรไกรที่เด่นชัด ก� ำลังแสดงความรู้สึก ๒ อย่างที่ต่างกันอย่างตรงกันข้ามออกมาพร้อมกัน คือ ความสวยงาม น่ารัก น่าเทิดทูน ฝ่ายหนึ่ง กับความน่าเกรงกลัว อีกฝ่ายหนึ่ง ในทรวดทรงที่นุ่มนวล แต่แข็ง แรงในท่าทางที่เรียบง่าย อ่อนโยน แต่ให้ความรู้สึกของความเป็นผู้มีอ� ำนาจ ช่างสมกับค� ำนิยมที่มีผู้มอบให้ กับหญิงไทยไว้ว่า ‘เปลก็ไกว ดาบก็แกว่ง’ เสียจริง” ตัวอย่างจิตรกรรม ภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่อง รามเกียรติ์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งอยู่ที่ ผนังด้านในพระระเบียงรอบพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (ภาพที่ ๒๔) ภาพจิตรกรรมฝาผนัง เรื่องรามเกียรติ์นี้ น� ำเนื้อหามาจากบทละครเรื่อง รามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธ- ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในประเทศไทย ประเพณีการน� ำเนื้อหาจากวรรณคดีหรือเรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องกับวรรณคดี เช่น พุทธประวัติ (ภาพที่ ๒๕) เรื่องชาดก (ภาพที่ ๒๖) คติความเชื่อทางพระพุทธศาสนา (ภาพที่ ๒๗) ตลอดจน เรื่องราวที่นับเนื่องเป็นวรรณคดี เช่น พงศาวดาร ประวัติศาสตร์ (ภาพที่ ๒๘) เอกสารต่าง ๆ เหล่านี้ มาสร้างเป็นรูปจิตรกรรม มีมาแต่โบราณจนในปัจจุบัน ทั้งนี้ ลักษณะงานจิตรกรรมที่มีมาแต่โบราณ จนปัจจุบันนั้น ได้คลี่คลาย และเปลี่ยนแปลงไปตามประเพณีนิยมของยุคสมัยและอิทธิพลต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอก

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=