ปี-39-ฉบับที่-3

141 วินั ย ภู่ระหงษ์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ ประเทศไทย (ภาพที่ ๑๒) รูปปั้นพระพลบดีประดับหน้าอาคารสนามกีฬาแห่งชาติ (ภาพที่ ๑๓) รูปปั้นทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ต� ำรวจ และพลเรือน ประดับรอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ภาพที่ ๑๔) รูปปั้นนูนสูง ประดับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย (ภาพที่ ๑๕) รูปปั้นนูนต�่ ำรูปแสตมป์ชนิดต่าง ๆ ประดับภายในอาคาร การสื่อสารแห่งประเทศไทย (ภาพที่ ๑๖) และรูปปั้นนูนสูงประดับสะพานมหาดไทยอุทิศ (ภาพที่ ๑๗) ปัจจุบันมีการน� ำประติมากรรมไปประดับตกแต่งอาคารบ้านเรือนที่อยู่อาศัย มีทั้งที่เป็นรูปแบบ เหมือนจริงและรูปแบบทางนามธรรม ๒. ประติมากรรมกับจิตรกรรม ประติมากรรมชนิดนูนต�่ ำหรือลายจ� ำหลักเป็นรูปหรือเรื่องราวต่าง ๆ อาจกล่าวได้ว่า ประติมากรรม ใช้วิธีอย่างจิตรกรรมสร้างเป็นภาพขึ้น โดยคตินิยมประเพณีทางพระพุทธศาสนา (ในประเทศไทย) เรื่องราวพุทธประวัติหรือเรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องด้วยคติหรือความเชื่อทางพระพุทธศาสนา เป็นเรื่องส� ำคัญ ที่จิตรกรในอดีตนิยมจ� ำลองขึ้นเป็นภาพผนังในโบสถ์และวิหาร และคตินิยมนี้เอง น่าจะเป็นแรงบันดาลใจ ให้ประติมากรสร้างประติมากรรมเรื่องราวพุทธประวัติหรือเรื่องราวเกี่ยวเนื่อง ตัวอย่าง - ประติมากรรมฝาผนังวัดบางกะพ้อม อ� ำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นลักษณะนูนต�่ ำ ประดับอยู่ที่ผนังรอบพระวิหารพระพุทธบาททั้ง ๔ ด้าน เป็นเรื่องราวพุทธประวัติบางตอน และสถานที่ ประดิษฐานพระพุทธบาท ๕ แห่ง (ภาพที่ ๑๘) - ภาพจ� ำหลักพุทธประวัติอยู่ในหอค� ำจ� ำลอง เมืองโบราณ บางปู จังหวัดสมุทรปราการ เป็น ภาพจ� ำหลักไม้ เริ่มเรื่องตั้งแต่การจุติจากดุสิตลงสู่พระครรภ์พระพุทธมารดา จนถึงเสด็จดับขันธปรินิพพาน และถวายพระเพลิง (ภาพที่ ๑๙) ๓. วรรณคดีกับสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม ความเกี่ยวข้องกันของวรรณคดีกับสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม ในลักษณะ ที่ปรากฏโดยทั่วไปโดยเฉพาะวรรณคดีไทย วรรณคดีใช้เนื้อหาจากศิลปะเหล่านี้มาประพันธ์ในรูปบท พรรณนาฉายภาพของรูปศิลปะนั้น ๆ ให้ปรากฏขึ้นมาอันเป็นคุณค่าทางวรรณศิลป์ ทั้งนี้ ภาพที่ปรากฏ จะสมบูรณ์หรือแจ่มชัดมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับการเก็บรายละเอียดของเนื้อหาและกลวิธีการประพันธ์ อันประณีตบรรจง ยกตัวอย่างบทพรรณนาพระมณฑปที่สวมรอยพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี รวมทั้ง ศิลปกรรมอื่นที่ประกอบอยู่ (ภาพที่ ๒๐) จากบุ ณโณวาทค� ำฉันท์ ของพระนาค วัดท่าทราย และจาก นิราศ พระบาท ของสุนทรภู่ มาเทียบกัน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=